Page 80 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 80

สวนที่ 2 สรีระทางเพศ: ควย  63

                                                        ควย



                                                       มลฤดี ลาพิมล







                               คํา ที่มาและความหมาย: เพศวิถีที่ชอบธรรม

                                     ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ไดใหความหมาย
                               ของคําวา “ควย”  ไววา

                                                                             1
                                     ควย น.อวัยวะสืบพันธุของชายหรือสัตวเพศผูบางชนิด
                                     สําหรับความหมายของคําวา อวัยวะสืบพันธุชาย  ในเว็บไซต
                                                                                2
                               สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย หมายถึง
                                     อวัยวะสืบพันธุของสิ่งมีชีวิตเพศชาย ทําหนาที่ในการสืบพันธุ เพื่อการ
                               ดํารงเผาพันธุใหคงอยูตอไป ประกอบดวยโครงสรางทั้งภายนอกและภายใน
                               รางกาย แตโดยทั่วไปเมื่อกลาวถึงอวัยวะสืบพันธุชาย มักนึกถึงสวนประกอบ
                               ภายนอกเปนสวนใหญ สวนประกอบภายนอกนี้ไดแก องคชาติ อัณฑะ

                               ตอมสรางน้ําเลี้ยงอสุจิ (ทําหนาที่ สรางอาหารแกตัวอสุจิ) ตอมลูกหมาก
                               (ทําหนาที่สรางสารที่เปนเบสอยางออน เพื่อปรับความเปนกรด/เบสเมื่อผาน
                               เขาภายในชองคลอด และสารสีขาวเพื่อชวยใหตัวอสุจิแข็งแรงและวองไว เขาไป

                               ในทอปสสาวะปนกับน้ําเลี้ยงอสุจิ ตอมคาวเปอร (หรือกระเปาะเล็กๆ อยูใต
                               ตอมลูกหมากทําหนาที่หลั่งสารไปหลอลื่นทอปสสาวะสารนั้นมีลักษณะเปนเมือก)
                                     ในเว็บไซตอันไซโคลพีเดีย ไรสาระนุกรม คาดวาที่มาของคําวา “ควย”
                               นาจะมาจากคําวา “คุยฺห”  และ “คุหฺย”  ในภาษาสันสกฤต ซึ่งหมายถึง “ของลับ”

                               มีการแผลงสระอุ เปน ‘ว’ หรือ ตัดไปเลย สวนเสียง ‘ห’ หายไป นอกจากนี้ยังมี
                               คําวา “พระคุยหฐาน”  ที่หมายถึง อวัยวะที่ลับ อีกดวย


                               1   ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคสพับลิเคชั่นส.
                                 2546. หนา 230.
                               2   อวัยวะสืบพันธุชาย. เว็บไซต วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. <http://th.wikipedia.org/wiki>

                                                        มลฤดี ลาพิมล
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85