Page 79 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 79

62   ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ

                                     11. คําที่ถูกใชเพื่อหมายความถึง “ผูหญิง” หรือ “เพศหญิง” ดังคํา
                               ประชดประชันวาสถานภาพทางสังคมของผูหญิง (หี) ลวนสัมพันธกับรูปราง
                               หนาตาของเธอดวย

                                     ไมวาจะดวยภาษาหรือดวยกายวิภาค “หี” ถูกทําใหเปนสิ่งปกปดซอนเรน
                               หรือถูกผูหญิงกระทําใหแปลกแยกและเปนคนแปลกหนากับอวัยวะเพศของ

                               ตนเอง เชน ในการประชุมเชิงปฏิบัติการของคณะทํางานเรื่องผูหญิงในงานเอดส
                               เดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ที่จังหวัดหนองคาย ระหวางการประชุมมีการแนะนํา
                               ใหผูหญิงใชกระจกสองหี เพื่อใหเรียนรูรางกายของตนเอง ผูเขารวมสัมมนา
                               หลายคนใหความเห็นวา “ตองมีกระจกอันหนึ่งสองหนา กระจกอีกอันสองหี”

                               คําวา “หี” ไดสะทอนระดับความหยาบหรือความสุภาพของภาษา ที่เกี่ยวพัน
                               โดยตรงกับการกลอมเกลาดานคานิยมความเชื่อและการใสรหัสความหมายใหกับ
                               กลุมคําตางๆ ที่ใชเรียกแทนคําวา “หี” สะทอนใหเห็นอํานาจและการกดทับ

                               ทางเพศที่แฝงเรนอยูในการใชคําเรียกอวัยวะเพศหญิง ตลอดจนการไมสยบยอม
                               และความพยายามขัดขืนตออํานาจเรื่องเพศของผูหญิง ทั้งยังชี้ชัดอีกครั้งวา
                               ภาษาคืออํานาจที่ไดประทับตราใหเพศสรีระชายกลายเปนเครื่องมือของ
                               อํานาจที่เหนือกวา





























                                                         มลฤดี ลาพิมล
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84