Page 248 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 248
บทที่ 4 เพศวิถี: โสเภณี 233
โสเภณี
พิมพวัลย บุญมงคล
โสเภณี มาจากคําในภาษาบาลีวา โสภิณี แปลวา “หญิงงาม” เปนคํา
ดั้งเดิมที่ใชเรียกผูหญิงที่ทําอาชีพขายบริการทางเพศ โดยมาจากคําเต็มๆ วา
“นครโสเภณี” นอกจากนี้ยังมีการใชคําอื่นๆ เชน คําวา คณิกา ในความหมายเดียว
กับ “หญิงงามแหงนคร” หรือ “หญิงงามเมือง” อีกดวย ในสมัยโบราณบางแควน
ของชมพูทวีปจะมีหญิงเหลานี้เอาไวดึงดูดนักเดินทางเพื่อนําเงินตราเขาเมือง
ในสังคมไทยไดมีการบันทึกการใชคําวาโสเภณีมาตั้งแตสมัยอยุธยา
ตอนตน โดยปรากฏการใชคํานี้ในลักษณะเปนอาชีพๆ หนึ่ง ในกฎหมาย
“ลักษณะผัวเมีย” สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจาอูทอง โดยใน
กฎหมายฉบับนี้ไดระบุโทษของการนําหญิงนครโสเภณีมาเปนภรรยา
อาชีพนี้ยังมีเรื่อยมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทรดังจะเห็นไดจากงาน
วรรณกรรมเรื่อง “นิราศเมืองแกลง” ของสุนทรภู เมื่อครั้งที่สุนทรภูไดออกเดินทาง
ตอนยามสองนั่งเรือลองไปตามแมน้ําเจาพระยา ไดยินเสียงผูหญิงขับรองเพลง
ลอยลมมา ระบุถึงแหลงชุมนุมของหญิงเหลานี้วาประจําอยูที่สําเพ็ง ทําใหเปนที่
คาดเดาวาลูกคานาจะเปนคนจีน ในสมัยนั้นอาชีพขายบริการของผูหญิง
1
เปนอาชีพที่ทางการไมไดหามปราม ทั้งยังไดเรียกเก็บภาษีจากโสเภณีดวย
2
โดยภาษีที่เรียกเก็บนี้ในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกวา “ภาษีบํารุงถนน” มาถึงใน
1 ในงานของดารารัตน เมตตาริกานนท เรื่อง โสเภณีกับนโยบายของรัฐบาลไทย (วิทยานิพนธอักษร
ศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2526) กลาววา โสเภณีไดรับการยอมรับวาเปน
สิ่งที่ถูกกฎหมาย โดยโสเภณีมีหนาที่ตองเสียภาษีใหรัฐในสมัยของสมเด็จพระนารายณมหาราช และ
เสียมาตลอดจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร
2 สันนิษฐานวาที่เรียกวาภาษีบํารุงถนนนั้น เพราะรัฐไดนําเงินนี้ไปใชในการซอมแซม ปรับปรุงถนน
ซึ่งมีการขยายตัว เพราะเศรษฐกิจเจริญขึ้น จากการทําการคากับตางประเทศ เมืองขยายมากขึ้น
แตเดิมจัดเก็บผานคนกลางในระบบเจาภาษีนายอากร ตอมาภายหลังเปลี่ยนมาเปนรัฐเรียก
จัดเก็บเอง (ขอมูลจาก ดารารัตน เมตตาริกานนท, อางแลว)
พิมพวัลย บุญมงคล