Page 230 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 230
บทที่ 4 เพศวิถี: หื่น 215
หื่น
สุไลพร ชลวิไล
“หื่น” มาจากไหน?
หื่น เปนทั้งภาษาพูดและเปนคําที่พบเห็นเปนประจําตามหนาหนังสือพิมพ
รายวัน ในขาวขมขืน หรือขาวการลวงละเมิดทางเพศ โดยทั่วไปจัดเปนคําไมสุภาพ
เนื่องจากคําๆ นี้ใหความหมายในเชิงประณามผูที่แสดงกิริยาอาการที่เรียกวา
“หื่น” หรืออาการ “มีอารมณทางเพศ อยากมีเพศสัมพันธมาก จนไม
สามารถควบคุมอารมณ หรือการแสดงออกทางรางกายของตนเองได”
สวนใหญแลวคําๆ นี้มักเปนคําที่ใชกับผูชายมากกวาผูหญิง โดยอาจใชเปน
คํากริยา หรือคําขยายคํานามก็ได เชน “ลูกชายผญบ.หื่น ฉุดสาวขมขืนยับ
2
1
ตร.ไลสกัดจับได” หรือ “ตัดสิน 2 ครูหื่น จําคุก 50 ป ขมขืนลูกศิษย” หรือ
บางครั้งเพื่อขยายคําวาหื่นใหชัดเจนมากยิ่งขึ้น จะใชคําวา “หื่นกาม” เปนการ
เนนวา อาการอยากที่เกิดขึ้นนั้น เปนความอยากที่มาจากการมีอารมณทางเพศ
โดยเฉพาะ
ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับป พ.ศ. 2542 ไดอธิบายคําวา
“หื่น” ไววาหื่น เปนคํากริยาหมายถึงมีความอยากอยางแรงกลา (มักใชในทาง
กามารมณ) ซึ่งเปนความหมายที่ตางกันอยางสิ้นเชิงกับคําวา “หื่นหรรษ”
3
ที่ใชในบทกลอน หรือบทกวี ซึ่งแปลวา เหิมใจ ยินดี ราเริง ชื่นชม นอกจากนี้
ในภาษาเหนือคําๆ นี้ถือเปนคําหยาบ เพราะ “หื่น” ในภาษาเหนือหมายถึง
“การผสมพันธุ หรือการมีเพศสัมพันธของสัตว”
1 ไทยรัฐ, 4 ตุลาคม 2550.
2 ไทยรัฐ, 21 พฤศจิกายน 2550.
3 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 . กรุงเทพฯ: นานมีบุคสพับลิเคชั่นส.
2546. หนา 1296.
สุไลพร ชลวิไล