Page 216 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 216

บทที่ 4 เพศวิถี: กิ๊ก  199

                                     แมปรากฏการณคําวา “กิ๊ก” จะสงผลใหความรักและความสัมพันธ
                               นอกกรอบคุณคาระบบรักเดียวใจเดียว หรือผัวเดียวเมียเดียวไดรับการยอมรับ
                               มากขึ้น และไมไดเปนคําศัพทเฉพาะเจาะจงที่ใชกับบุคคลเพศใดเพศหนึ่ง หรือ
                               ใชเฉพาะกับระบบความสัมพันธแบบรักตางเพศเทานั้น แตการใชคําวา “กิ๊ก”

                               ก็ยังคงมีนัยที่สะทอนใหเห็นถึงการใหคุณคาแบบทวิมาตรฐานของระบบ
                               ความคิดความเชื่อเรื่องเพศของสังคมไทยอยูดี ตรงที่สังคมมีการใหคุณคา
                               กับการที่ผูชายมีกิ๊ก กับผูหญิงมีกิ๊กแตกตางกัน เนื่องจาการมีความสัมพันธ
                               ฉันกิ๊กนั้นถูกอธิบายรวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ หรือไมมีเพศสัมพันธดวย ซึ่ง
                               ถาพูดถึงเรื่องการมีเพศสัมพันธ หรือการเปดโอกาสในการเรียนรู และเขาถึง

                               เรื่องเพศแลว ผูชายก็จะเปนฝายไดเปรียบกวาผูหญิง การที่ผูชายจะมีกิ๊ก
                               หลายคนยอมไมถูกมองในแงลบเทากับผูหญิงที่มีพฤติกรรมในแบบเดียวกัน


                               คานิยม “กิ๊ก” กับมาตรการเฝาระวังและควบคุมเรื่องเพศ

                                     การนําเสนอรายงานกระแสคานิยมในเรื่อง “กิ๊ก” ในกลุมวัยรุน ไดสราง

                               ใหเกิดกระแสวิพากษวิจารณถกเถียงถึงเรื่องคานิยมทางเพศกันอยางมากมาย
                               เนื่องจากไมไดมีแตเฉพาะวัยรุนชายหญิงเทานั้นที่มีกิ๊ก แตยังมีผูคนหลายรุน
                               หลายวัย (รวมทั้งหลายเพศ) อีกเปนจํานวนมากที่เคยเจอกับประสบการณ
                               ความสัมพันธที่เทียบเคียงไดกับคําวา “กิ๊ก”
                                     อยางไรก็ตามกระแส “กิ๊ก”ในกลุมวัยรุน กลับดูจะเปนปรากฏการณทาง

                               สังคมที่นาเปนหวง หรือนาวิตกกังวลมากที่สุด สําหรับหนวยงานภาครัฐ และ
                               สถาบันทางสังคมตางๆ เชน สถาบันการศึกษา สถาบันครอบครัว สื่อมวลชน ฯลฯ
                               เนื่องจากเกรงวาคานิยมในเรื่อง “กิ๊ก” จะทําลายระบบความคิดความเชื่อเรื่องเพศ
                               ภายใตกรอบวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของสังคมลงเสียหมด อีกทั้งยังอาจนํามา
                               ซึ่งความเสี่ยงตอโรคติดตอทางเพศสัมพันธ การมีเพศสัมพันธในวัยเรียน การ
                               ทําแทง รวมถึงปญหาสังคมตางๆ ที่เกี่ยวกับเพศอีกมากมายดวย ทั้งนี้เพราะใน

                               มุมมองวิธีคิดแบบเรื่องเพศกระแสหลักที่อิงกับการแตงงานในระบบผัวเดียว
                               เมียเดียวระหวางคนรักตางเพศ การมีกิ๊กเทากับเปนการยอมรับในเพศสัมพันธ
                               นอกกรอบของความรัก การแตงงาน และมีเปาหมายเพียงเพื่อความสุขความ



                                                        มลฤดี ลาพิมล
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221