Page 217 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 217
200 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
พึงพอใจทางเพศชั่วครูชั่วยามเทานั้น ที่สําคัญคือ การมี “กิ๊ก” ยังทาทายมุมมอง
ความคิดของคนในเรื่องของจํานวนคูรวมเพศดวย ซึ่งมองในแงลบอยางถึงที่สุด
แลว “กิ๊ก” อาจไมตางอะไรจากการนําเอาคําวา “ชู” มารวมกับคําวา “สําสอน”
ก็เปนได
“ไมรูสึกตะหงิดๆ เหรอวา เราถูกทําใหเชื่อวาคําวากิ๊ก
มันแปลวาชู วัยรุนมองวา กิ๊กคือเพื่อนที่รูใจในอีกระดับหนึ่ง แต
17
ผูใหญยัดเยียดนัยทางเพศใหซะงั้น”
ดวยเหตุนี้จึงไมนาแปลกใจที่หนวยงานซึ่งเกี่ยวของกับการเฝาระวัง
พฤติกรรมทางเพศของเด็กและเยาวชนตางๆ จะตีความคานิยมและ
พฤติกรรมการมี “กิ๊ก” ของวัยรุนวา เปนรูปแบบสุดโตงของพฤติกรรมทางเพศ
และเปนความเสื่อมของศีลธรรมดานเพศ ดังที่ปรากฏในรายงานนําเสนอผล
ของกระทรวงวัฒนธรรมและการตอบสนองของสื่อมวลชนตอขอคนพบจาก
การศึกษาเชิงวิจัยของนิสิตคณะครุศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
สําหรับผูที่ทํางานเรื่องเพศภาวะและเพศวิถี ปรากฏการณของคําวา
“กิ๊ก” เปนตัวอยางที่ดีของการสะทอนใหเห็นถึงความเปนจริงทางสังคมวา
ความสัมพันธของคนซึ่งเชื่อมโยงกับเรื่องเพศภาวะและเพศวิถีนั้นเปนสิ่งที่ซับซอน
ยังมีผูคนที่มีระบบคิดในเรื่องเพศ หรือมีวิถีทางเพศที่อยูนอกกรอบระบบคิด
เรื่องเพศวิถีกระแสหลักอยูมากมาย และการเกิดขึ้นของคําวา “กิ๊ก” ก็ไดเปดชอง
ใหผูคนเหลานี้ไดตัดสินใจดวยตนเองในการที่จะมีความสัมพันธกับใคร (ตอใคร)
ในรูปแบบใด หรือตัดสินใจวาจะมีหรือไมมีเพศสัมพันธกับใครในเงื่อนไขไหน
เพราะเหตุใด และจะรับผิดชอบกับผลที่จะตามมาอยางไร ในฐานะปจเจกชนที่มี
สิทธิในการที่จะกําหนดและควบคุมวิถีทางเพศ และอนามัยเจริญพันธุดวยตนเอง
17 ไมปรากฏชื่อ. อางใน ผูใหญ. คําวากิ๊กคุณเขาใจอยางไร, 23 -06-2006. <http://webboard.mthai.
com/7/2006-06-23/246481.html>
มลฤดี ลาพิมล