Page 221 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 221
204 ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ
และสุนทรียศาสตร “นูด” ตางจาก “โป” ตรงที่มุงเนนในเรื่องของการใหคุณคา
กับเรื่องของความงามทางศิลปะมากกวากระตุนเราอารมณทางเพศ ในทํานอง
เดียวกันกับที่คําวา “อีโรติค” ซึ่งเปนคําที่ใชในแวดวงวรรณกรรม และภาพยนตร
ใหความสําคัญกับศิลปะ และความงดงามในการใชภาษา มากกวาเนนเพื่อให
ผูอานเกิดอารมณทางเพศ ขณะที่คําวา “เซ็กซี่” เปนคําที่แสดงถึง “ความสวย
งามแบบมีเสนหทางเพศ” เปนคําชื่นชมและใหคุณคา ในเรื่องของรูปรางหนาตา
การแตงตัว รวมไปถึงทาทางการแสดงออก เชน ตาเซ็กซี่ ปากเซ็กซี่ หรือมี
แววตา และมีรอยยิ้มที่เซ็กซี่ดึงดูดเพศตรงขาม (หรืออาจรวมไปถึงดึงดูดคน
เพศเดียวกันดวย)
การที่คําศัพทเหลานี้ฟงดูมีความหมายดีกวาคําวาโป เพราะผูใชคําเหลานี้
(ทั้งผูสรางสรรคผลงาน ผูวิจารณ และผูเสพ) มักเปนผูมีการศึกษา มีความรู
และมีรสนิยมในทางศิลปะ ขณะเดียวกันการใชคําศัพทเหลานี้ยังแสดงใหเห็นถึง
การเปรียบเทียบ และจัดระดับความงามในเชิงสุนทรียศาสตรดวย เนื่องจาก
เนื้อหาและเรื่องราวที่ถูกนําเสนอในภาพโป เปลือย หนังโป และหนังสือโปตางๆ
มุงเนนไปที่การบําบัดความใครแตเพียงอยางเดียว จึงถูกจัดใหอยูในระดับต่ํา
กวาภาพนูด ภาพยนตร หรือหนังสืออีโรติค ที่ถายทอดการเปลือย การแสดงถึง
อารมณปรารถนาทางเพศ การรวมเพศอยางมีศิลปะที่มีเปาหมายเพื่อยกระดับ
จิตใจผูเสพใหสูงขึ้น
แคไหน...เมื่อไร...อยางไร...ที่เรียกวา “โป”
การตีความวาการแตงกายแคไหน อยางไร เรียกวา “โป” หรือ “เซ็กซี่”
หรือสื่อแบบใดถูกจัดใหเปนสื่อแนวอีโรติคไมใช “สื่อโป” เปนสิ่งที่ยังคงถกเถียง
กันไดไมจบสิ้น ตราบเทาที่การตีความและนิยามความหมายนี้เกี่ยวของกับ
เรื่องเพศ ความสัมพันธชาย-หญิง มาตรฐานทางศีลธรรม และคานิยมความงาม
เรื่องเนื้อตัวรางกาย ซึ่งสะทอนผานทัศนคติ มุมมอง และรสนิยมสวนตัวของคน
แตละคนในสังคมในแตละยุคแตละสมัย
สุไลพร ชลวิไล