Page 187 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 187

170  ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ

                                     คําวา “ทอม” ที่ถูกนํามาใชในการนิยามตัวตนของผูหญิงที่รักเพศเดียวกัน
                               กลุมหนึ่งนั้น เขาใจวานาจะเกิดขึ้นในราวทศวรรษที่ พ.ศ. 2510 นับจากยุคที่เริ่มมี
                               การทําวิจัยเกี่ยวกับเรื่องเพศในประเทศไทยสมัยแรกๆ (หลังป พ.ศ. 2500) และ

                               ไดมีการนําคําวา “เลสเบี้ยน” มาใชมากขึ้นเรื่อยๆ ในการอธิบายความหมาย
                                                                                         3
                               ของรักรวมเพศในผูหญิง วาเปนหนึ่งในอาการที่เรียกวากามวิปริตประเภทหนึ่ง
                               สันนิษฐานวา การที่ผูหญิงรักเพศเดียวกันซึ่งมีบุคลิกภาพเปนชายเลือกนิยาม
                               ตนเองวา “ทอม” แทนคําวาเลสเบี้ยนนั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยง หรือปฏิเสธคํานิยาม
                               ที่สื่อความหมายในเชิงลบ หรือแฝงไปดวยอคติทางเพศจากสังคม ในขณะเดียวกัน
                               คําวาทอมยังเปนคําที่ใหความรูสึกทันสมัยมากกวาคําวา กะเทย ซึ่งเปนคําโบราณ

                               และใหภาพความเปนหญิงแบบหาวๆ มากกวาความเปนผูหญิงแบบผูหญิงๆ
                               ซึ่งก็ตรงกับภาพที่ทอมนําเสนอตนเองกับสังคมดวย
                                     แมในชวงแรกคําวา “ทอม” จะมาจากกลุมผูหญิงวัยรุนชนชั้นกลาง

                               ในเมืองที่มีการศึกษา แตทุกวันนี้คําวา “ทอม” เปนคําซึ่งเปนที่เขาใจ และถูกนํา
                               มาใชกันอยางแพรหลาย ทั้งในกลุมของหญิงรักหญิงเอง และในสังคมทั่วไป
                               ขณะเดียวกันการประกอบสรางความเปนทอมยังผูกโยงกับชุดความคิดในเรื่อง
                               เพศภาวะ และเพศวิถีอีกหลายอยาง เชน เมื่อพูดถึง “ทอม” ก็ตองนึกถึงตัวตน

                               ที่เปนคูของทอมคือ “ดี้” ดวย
                                     เชนเดียวกับคําวาทอม “ดี้” เปนคํานิยามตัวตนทางเพศภาวะ และเพศวิถี
                               อีกรูปแบบหนึ่งของหญิงรักหญิง ที่มีที่มาจากภาษาอังกฤษ คือ ยอมาจากคําวา

                               “เลดี้” (Lady) และก็มีความหมายแตกตางจากคําในภาษาอังกฤษ ซึ่งเปนคําที่
                               ใชเรียกผูหญิงแบบสุภาพ แต “ดี้” ในภาษาไทย จะมีความหมายเฉพาะเจาะจง
                               ถึง ผูหญิงที่เปนคูของทอม เปนผูหญิงที่มีความเปนผูหญิง ไมตางจากผูหญิง

                               ธรรมดาทั่วไป เพียงแตแตกตางตรงที่มีรสนิยม และมีความปรารถนาทางเพศ
                               กับเพศเดียวกันที่เปนทอมเทานั้น และสวนใหญจะมีบทบาททางเพศเปนฝายรับ
                               กลาวไดวา ความเปน “ดี้” สะทอนถึงตัวตนทางเพศทางดานเพศวิถีมากกวา





                               3   สรุปความคิดบางสวนจาก Jakson, P.A. 1997. An Explosion of Thai Identities 1960 -1965
                                 Unpublished Paper, version 3 July.


                                                         สุไลพร  ชลวิไล
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192