Page 186 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 186

บทที่ 4 เพศวิถี: หญิงรักหญิง  169

                               ในสังคมสวนใหญมากเทาไรนัก ขณะเดียวกันยังมีคํานิยามความเปนหญิงรักหญิง
                               อีกหลายคํา ซึ่งไมไดถูกนําเสนอในเชิงการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อใหสังคม
                               ยอมรับเชนเดียวกันกับคําวา “หญิงรักหญิง” แตกลับเปนคําที่คนทั่วไปรูจัก

                               คุนเคยมากกวา อยางเชนคําวา เลสเบี้ยน, ทอม, ดี้ คําเหลานี้มีที่มาเกี่ยวของ
                               กับคําในภาษาอังกฤษ แตกลับสื่อถึงความหมายแตกตางไปจากคําในภาษา

                               อังกฤษอยางสิ้นเชิง
                                     เลสเบี้ยน  เปนคําที่ใชทับศัพทแทนคําวา “Lesbian” หมายถึงผูหญิงที่
                               รักเพศเดียวกัน คําๆ นี้ในภาษาอังกฤษ เปนคําที่มีนัยเปนกลางๆ ไมไดแสดงถึง
                               การดูหมิ่น เหยียดหยามผูหญิงที่รักเพศเดียวกันแตอยางใด แตเมื่อมาอยูใน

                               บริบทของภาษาไทย กลับเปนคําที่หญิงรักหญิงไมนํามาใชนิยามในความเปน
                               ตนเองเทาใดนัก เพราะคําวา “เลสเบี้ยน” คํานี้เปนคําที่สังคมไทยรับเขามาภายใต
                               องคความรูทางดานจิตวิทยาที่ระบุวาการรักเพศเดียวกันจัดอยูในความผิดปกติ

                               ทางเพศ หรือเปนความเบี่ยงเบนทางเพศอยางหนึ่ง โดยผูที่ใชคํานี้สวนใหญไมใช
                               หญิงรักหญิงเอง แตเปนเหลาบรรดาจิตแพทย นักจิตวิทยา สื่อมวลชน และนัก
                               วิชาการดานเพศศึกษาทั้งหลาย นอกจากนั้นคําๆ นี้ก็ยังชวนใหนึกถึงแตภาพ
                               การรวมเพศระหวางผูหญิงกับผูหญิงในหนังโปสําหรับผูชายดวย อีกทั้งดวยการ

                               เปนคําภาษาอังกฤษก็ยิ่งทําใหถูกมองวา พฤติกรรมและตัวตนทางเพศวิถีของ
                               ผูหญิงที่รักเพศเดียวกัน เปนเรื่องของการรับเอาคานิยมทางเพศแบบตะวันตก
                               และเปนพฤติกรรมในกลุมของชนชั้นกลางที่มีการศึกษา และอาศัยอยูในเมือง

                               เทานั้น
                                     ในขณะที่คําวา “เลสเบี้ยน” ถูกนํามาใชในการนิยามความเปนผูหญิงที่
                               รักเพศเดียวกันโดยคนอื่น ผูหญิงรักเพศเดียวกันกลุมหนึ่งพึงพอใจที่จะนิยาม

                               ตนเองดวยคําวา “ทอม” มากกวา “ทอม” เปนคําที่ยอมาจากคําในภาษา
                               อังกฤษวา ทอมบอย (หรือ Tomboy) หมายถึง เด็กผูหญิงที่แสดงพฤติกรรม
                               เหมือนกับเด็กผูชาย แตสําหรับในภาษาไทยคําวา “ทอม” หมายถึง ผูหญิงที่มี

                               บุคลิก มีการแตงตัว ทาทางการแสดงออกเปนผูชาย มีจิตใจรักใครใน
                               เพศเดียวกัน และจะมีบทบาททางเพศเปนฝายรุก







                                                        สุไลพร  ชลวิไล
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191