Page 139 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 139

122  ภาษาเพศในสังคมไทย: อํานาจ สิทธิ และสุขภาวะทางเพศ

                               ทางภาษาเหลานี้ยังถูกผลิตซ้ํามาเรื่อยๆ โดย “คนอื่น” ที่ไมใชคนในกลุม
                               ชายรักชายเอง ขณะที่กลุมชายรักชายเองไมนิยม หรือไมยินดีกับการใชคําทั้ง

                               สองคําดังกลาว ในทํานองเดียวกับที่คําวา “เขาประตูหลัง” “เขาขางหลัง”
                               “สอดใสทางทวารหนัก”  ก็ลวนแลวแตเปนคําที่คนทั่วไปเรียกพฤติกรรม
                               การมีเพศสัมพันธของชายรักชาย ซึ่งสื่อถึงกิริยาการมีเพศสัมพันธ หรือคําวา

                               “ฟนดาบ”  ที่สื่อถึงการที่อวัยวะเพศชายเหมือนกันมามีกิจกรรมกัน ในขณะที่
                               กลุมชายรักชายเองมักใชคําวา “ไดกัน” “มีเซ็กสกัน” “เอากัน” “เยกัน”  เพื่อ
                               สื่อถึงการมีเพศสัมพันธระหวางกันเชนเดียวกับการมีเพศสัมพันธของเพศวิถี
                               กระแสหลัก ในขณะที่ “เก็บสบู” ที่เปนคําที่มาจากหนังฝรั่งเกี่ยวกับนักโทษชาย

                               ที่ทําสบูตกแลวกมตัวลงไปเก็บ ซึ่งเปนการสงสัญญาณใหทราบถึงความพรอมที่
                               จะมีความสัมพันธ เปนตน



                               ปฏิบัติการทางภาษาที่มากกวาพฤติกรรมทางเพศ

                                     ความหมายและนัยของคําวา “ตุย” ซึ่งถูกสรางและสงผานทางปฏิบัติการ

                               ทางภาษาโดยสื่อ ซึ่งใหนัยของการมีเพศสัมพันธระหวางชายกับชายดวยกันวา
                               เปนเพศสัมพันธที่ผิดปกติ รุนแรง หรือเสี่ยงตอโรค ไมเพียงแตสงผลตอการรับรู
                               และจดจําภาพตัวแทนความเปนชายรักชายในสังคมไทยทั่วไปเทานั้น หากยังได

                               ประกอบสรางภาพตัวแทนบางอยาง รวมถึงถายทอดมายาคติในเรื่องเพศใหกับ
                               กลุมชายรักชายเองดวยเชนกัน กลาวคือ สังคมไทยมองวาการรักเพศเดียวกัน
                               นั้นไมใชสิ่งที่เปนธรรมชาติ หากแตเปนความผิดปกติ ผิดแปลก มุมมอง

                               เชนนี้ ถูกรองรับดวยมายาคติที่วาชายรักชายมัก “ปง” (ตองตาตองใจ) เร็ว
                               รักงาย เปลี่ยนคูบอยๆ มีเพศสัมพันธกับคนไดงายๆ เมื่อผนวกกับบริบททาง
                               สังคมที่มีการแพรระบาดของโรคเอดส กลุมชายรักชายจึงถูกจับตามองแบบ

                               เหมารวมวาเปนกลุมเสี่ยงที่สําคัญ และเปนกลุมประชากรเปาหมายที่ตองคอย
                               เฝาระวัง และตองรณรงคปองกัน ชายรักชายจึงมักถูกเรียกวา “รักรวมเพศ”
                               และถูกมองวาเปนผูมีพฤติกรรมสําสอนทางเพศ สิ่งเหลานี้ลวนแลวแต
                               เปนกระบวนการในการเบียดขับเพศวิถีแบบชายรักชายใหเปนชายขอบ และ


                                                       รณภูมิ สามัคคีคารมย
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144