Page 112 - ภาษาเพศในสังคมไทย : อำนาจ สิทธิและสุขภาวะทางเพศ
P. 112

สวนที่ 3 การปฏิบัติทางเพศ: เอากัน  95

                                     “ตีฉิ่ง” เปนคําศัพทเฉพาะที่คนทั่วไปใชเรียกการมีเพศสัมพันธของผูหญิง
                               ที่มีเพศสัมพันธกับเพศเดียวกัน “ตีฉิ่ง” มาจากคํากริยาการเลนเครื่องดนตรีไทย
                               ที่ใหจังหวะคือฉิ่ง ฉิ่งเปนเครื่องดนตรีไทยที่มีรูปทรงคลายถวยเล็กๆ ขนาดเทา

                               ฝามือ ทําดวยทองเหลือง “ตีฉิ่ง” ใชแทนการมีเพศสัมพันธของผูหญิงที่รัก
                               เพศเดียวกัน โดยเปรียบเทียบกับลักษณะการประกบกันของฉิ่งวาคลายการ

                               ประกบกันของอวัยวะเพศหญิง สังคมทั่วๆ ไปมีความรูสึกตอคําๆ นี้วาเปนคําที่
                               ใหอารมณสนุกสนาน หรือขบขัน แตสําหรับผูที่เปนหญิงรักหญิงเองแลว
                               กลับเห็นวา คําๆ นี้ใหความรูสึกของการเหยียดหยามใหหญิงรักหญิงกลายเปน
                               ตัวตลก หรือเปนตัวประหลาด

                                     คําศัพทอีกคําหนึ่งซึ่งเปนคําเกาแกซึ่งเปนหลักฐานที่แสดงถึงความ
                               สัมพันธระหวางผูหญิงกับผูหญิงดวยกันมาตั้งแตในอดีต คือคําวา “เลนเพื่อน”
                               สําหรับคนทั่วไปคําๆ นี้มีนัยของการมีสัมพันธระหวางเพื่อนกัน เปนสัมพันธเพียง

                               เลนๆ สนุกสนาน ไมใชความสัมพันธที่ถาวร ปจจุบันมีผูนําคําๆ นี้มาใชในกลุม
                               สังคมชั้นสูงของสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงการสื่อความหมายโดยตรงในเรื่องเพศ
                               ระหวางผูหญิงดวยกันเอง
                                     ในภาษาไทยยังมีคําอีกหลายคําที่แสดงถึงการมีเพศสัมพันธในบริบท

                               ตางๆ กันไป เชน คําวา “มีเซ็กส”  ซึ่งเปนคําที่มีความเปนทางการ มีความเปน
                               วิชาการ คําวา “เซ็กส” เปนคําทับศัพทจากคําในภาษาอังกฤษแตมีความหมาย
                               แตกตางจากคําในภาษาอังกฤษอยางมาก โดยในขณะที่คําวา Sex ในภาษา

                               อังกฤษหมายถึงเพศชายหรือหญิงที่จําแนกดวยสรีระ และเพศสัมพันธ แตคําวา
                               “เซ็กส” ในภาษาไทยจะหมายถึง “เพศสัมพันธ”  มากกวา คนที่ใชคํานี้
                               สวนใหญเปนชนชั้นกลาง มีฐานะ และมีการศึกษา หรือแมกระทั่งกลุมวัยรุน

                               คําวา “สังวาส”  เปนคําที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤตมักใชในงานเขียนที่ให
                               ความรูสึกของความเกา โบราณ ผูที่ใชคํานี้มักเปนนักเขียน หรือคนรุนเกา คําวา
                               “สังวาส” อาจใชเดี่ยวๆ หรือผสมกับคําอื่นๆ ก็ได เชน “เสพสังวาส”  ซึ่งจะทําให

                               คํานี้กลายเปนคําที่ดูมีความรวมสมัยมากกวาคําวา “สังวาส” เฉยๆ คําอื่นๆ
                               ที่ใหอารมณใกลเคียงกันและมีการใชกันคอนขางมาก ไดแก คําวา “เสพสม”
                               ซึ่งเปนคําที่มาจากชื่อคอลัมนตอบปญหาเพศในหนังสือพิมพรายวันฉบับหนึ่ง
                               ที่ไดรับความนิยมมายาวนานหลายสิบป คือ คอลัมน “เสพสมบมิสม”


                                                      รณภูมิ สามัคคีคารมย
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117