Page 102 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 102

44 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)

                       6. อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการกระท าอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่
             ย่ ายีศักดิ์ศรี ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2550 และมี
             ผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550

                       7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้โดยการให้
             สัตยาบัน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 และมีผลใช้บังคับกับไทยเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2551
                    นอกจากการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศข้างต้น ยังพบว่าประเทศมีการ
             ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยการปฏิบัติงานภายใต้กรอบของแนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศที่ส าคัญ

             ได้แก่ ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนา (รับรองโดยสมัชชาใหม่แห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2529)
             ปฏิญญาแห่งเวียนนาและแผนปฏิบัติการ (รับรองเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ.1993 ในการประชุมระดับโลกว่า
             ด้วยสิทธิมนุษยชน) และปฏิญญาแห่งโลกว่าด้วยการปกป้องการอยู่รอดของเด็กและการพัฒนาเด็ก (World
             Declaration on the Survival Protection and Development of Children) เป็นต้น


             2.3 องค์กรที่มีบทบาทและอ านาจหน้าที่หลักในการคุ้มครองสิทธิในประเทศไทย

                    ในการคุ้มครองสิทธิของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุนั้น จากการศึกษา
             พบว่า ในประเทศไทยมีองค์กรมากมายที่มีการด าเนินการปฏิบัติภารกิจในการดูแลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ

             ซึ่งในจ านวนองค์กรทั้งหมดนั้น ส่วนหนึ่งเป็นองค์กรของรัฐและองค์กรอิสระหลากหลายหน่วยงานด้วยกัน
             ซึ่งสามารถที่จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่การคุ้มครองสิทธิของแต่ละองค์กรได้ ดังต่อไปนี้

                    2.3.1 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : องค์กรหลักในการคุ้มครองสิทธิ


                                                61
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  มีสถานะเป็นองค์กรอิสระที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นครั้งแรกโดย
             รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ต่อมาเมื่อประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ
             ใหม่ เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ก าหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

             แห่งชาติ มีสถานะเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ















                  61 จาก ความเป็นมาและอ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, โดย ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน,
             2557, สืบค้นจาก http://www.nhrc.or.th/AboutUs/The-Commission/Mandates.aspx
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107