Page 266 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 266
208 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
ร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ รวมถึงการจัดท าหลักสูตรเกี่ยวกับผู้สูงอายุในการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึง
อุดมศึกษา ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตงานวิจัยเพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุ
(2.3.6) มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 ตุลาคม 2554
สืบเนื่องจากการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุในอัตราเดือนละ 500 บาท ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 ยังไม่เพียงพอต่อ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จึงได้มีการแก้ไขให้จ่ายเบี้ยแก่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่
18 ตุลาคม 2554 ซึ่งเห็นชอบให้จ่ายเบี้ยแบบขึ้นบันได ดังนี้
ผู้สูงอายุ 60 - 69 ปี จะได้รับ 600 บาท
ผู้สูงอายุ 70 - 79 ปี จะได้รับ 700 บาท
ผู้สูงอายุ 80 - 89 ปี จะได้รับ 800 บาท
และผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่งบประมาณรายจ่ายประจ าปี
งบประมาณ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
(2.3.7) มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557
สืบเนื่องจากการจ่ายเบี้ยความพิการในอัตราเดือนละ 500 บาท ตามระเบียบคณะกรรมการ
ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ
พ.ศ. 2552 ยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการซึ่งหมายรวมถึงผู้พิการที่เป็นผู้สูงอายุด้วย จึงได้
มีการแก้ไขให้จ่ายเบี้ยความพิการเพิ่มขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 โดยอนุมัติใน
หลักการให้เพิ่มอัตราเบี้ยความพิการให้แก่คนพิการ จากเดิมรายละ 500 บาทต่อเดือน เป็นรายละ 800 บาท
ต่อเดือน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป โดยมีผลครอบคลุมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเบิกจ่ายเบี้ยความพิการให้เป็นอัตราเดียวกันทั้ง
ประเทศ ดังนั้น นอกจากผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยยังชีพตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายก าหนดแล้ว หากผู้สูงอายุเป็นผู้
พิการด้วยย่อมได้รับสิทธิตามกฎหมายฉบับนี้เช่นกัน
(2.4) นโยบายและหลักเกณฑ์อื่น ๆ
(2.4.1) มาตรฐานการส่งเสริมสวัสดิภาพและคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ
เป็นข้อก าหนดที่ท าให้ผู้สูงอายุได้รับการปกป้อง ดูแล มีหลักประกันด้านสวัสดิภาพทั้งทาง
เศรษฐกิจและสังคม รวมถึงความยุติธรรมทางสังคมในการพัฒนาความสามารถและทักษะด้านต่าง ๆ อย่าง
สูงสุด เพื่อให้ผู้สูงอายุพึ่งพาตนเองได้และด าเนินชีวิตอย่างเหมาะสม มีส่วนร่วมในครอบครัว ชุมชน และสังคม