Page 212 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 212
154 | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
กับญาติมากขึ้น ผู้ที่ท าหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ไร้ความสามารถ ท าโดยสมาชิกในครอบครัว
ทั้งนี้รวมถึงสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้สูงอายุ เช่น คู่สมรส ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบพฤติกรรม
ครอบครัวและการอยู่อาศัยที่เปลี่ยนไป ท าให้เกิดความกังวลในเชิงนโยบายเพราะความช่วยเหลือจากครอบครัว
จะลดลงในขณะที่ความต้องการการดูแลมีจ านวนเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวท าให้เกิดการจัดเตรียมที่อยู่
อาศัยส าหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา
การสนับสนุนทางสังคมส าหรับผู้ป่วยการดูแลระยะยาวและและการประกันสุขภาพส าหรับผู้สูง
วัย จะมุ่งเน้นที่กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุ ได้แก่ ผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไปและผู้ที่เกษียณ
กลุ่มระยะเปลี่ยนผ่านในช่วงอายุประมาณ 70 – 80 ปี และกลุ่มวัยเปราะบาง ได้แก่ กลุ่มวัยสูงวัยตอนปลาย
ระบบบริการสุขภาพมี 3 ระดับ คือ ปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ โดยมี GP เป็นผู้ให้บริการด่านแรกของระบบ
การบริการมีทั้งในโรงพยาบาล ในชุมชนและระหว่างโรงพยาบาลกับชุมชน ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อน
กลับไปในชุมชน นอกจากนี้ยังมีบริการสุขภาพในชุมชนโดยบุคลากรอื่น เช่น นักกายภาพ นักอาชีวะบ าบัด
โภชนากรและเภสัชชุมชน ส าหรับการบริการสังคมส าหรับผู้สูงอายุ Social Services Department จะ
รับผิดชอบประเมินความต้องการของผู้สูงอายุ วางแผนดูแล เสนอและจัดซื้อชุดบริการ รวมทั้งติดตามประเมิน
เพื่อให้ได้รับบริการที่เหมาะสมด้วย
ส าหรับการสนับสนุนทางสังคมส าหรับครอบครัวรัฐบาลกลางมีหน้าที่ในการก าหนดนโยบายทาง
สุขภาพและบริการทางสังคม และเป็นกลไกส าคัญในการจัดระบบการดูแลในระยะยาวและการบริการสุขภาพ
ส าหรับผู้สูงอายุ โดยแบ่งความรับผิดชอบตามลักษณะของการบริการ เช่น บริการทางสุขภาพเป็นความ
รับผิดชอบของระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service: NHS) และบริการทางสังคมส าหรับ
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local authorities) ประชาชน
สนับสนุนการเงินผ่านทางภาษีทั่วไป
ผู้สูงอายุที่ต้องการได้รับบริการดูแลระยะยาวในสถานบริบาล (Nursing home) จะต้องผ่านการ
ประเมินความจ าเป็น (mean-test) เป็นการประเมินรายได้และบ้านที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุมาคิดเป็นมูลค่าเพื่อ
ประกอบการพิจารณา
การบริการในสถานบริการที่มีอยู่ในประเทศอังกฤษ เช่น
1) โรงพยาบาล เป็นการรักษาพยาบาลทั่วไปและบริการดูแลระยะยกลาง (intermediate care)
ส าหรับผู้สูงอายุ เป็นการฟื้นฟูสภาพ การแนะน า/ให้ความรู้
2) สถานบริบาล (nursing home) เป็นสถานที่ให้การดูแลระยะยาวส าหรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วย
ไม่มากถึงขนาดที่จะต้องรับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลแต่ก็ไม่สามารถจะอยู่ที่บ้านได้ เหมาะส าหรับผู้ที่ต้องการ
การดูแลทางการแพทย์ตลอดเวลา และมีบทบาทในการเตรียมผู้ป่วยเพื่อกลับไปอยู่ที่บ้านด้วย
3) สถานดูแลระยะสั้น (respite care) ให้บริการรับผู้สูงอายุไว้ในความดูแลระยะสั้นเพื่อให้ผู้ดูแล
หรือครอบครัวมีเวลาพักและมีเวลาเป็นส่วนตัว ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการลดภาวะเครียดในผู้ดูแลที่ต้องดูแลผู้ป่วยอยู่ที่
บ้านเป็นระยะเวลานาน ๆ