Page 211 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ: กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ
P. 211

โครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดท าข้อเสนอแนะนโยบายหรือมาตรการเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ :1111
                                                                    กรณีการเลือกปฏิบัติในผู้สูงอายุ | 153

                         คณะท างานที่ส าคัญในการด าเนินการส่งเสริมการจ้างงานในแรงงานผู้สูงอายุ ได้แก่ Age

               Positive ซึ่งเป็นคณะท างานในสังกัดของ Department for Work and Pensions มีส านักงานอยู่ใน
               London และ Sheffield มีหน้าที่ส าคัญ คือ รับผิดชอบในเรื่องการวางแผนกลยุทธ์และนโยบายส่งเสริมการ
               ท างานและการเกษียณอายุของแรงงานผู้สูงอายุ โดยคณะท างานได้ด าเนินการรณรงค์ส่งเสริมให้นายจ้างเห็นถึง
               ประโยชน์ในการจ้างแรงงานที่มีอายุหลากหลาย กล่าวคือ มีการจ้างแรงงานทั้งในวัยหนุ่มสาวและผู้สูงอายุในที่
               ท างาน นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ส่งเสริมและให้ค าปรึกษาแนะน าแก่นายจ้างในเรื่องการสรรหาบุคลากร การจัด

               อบรม และการรักษาก าลังคนซึ่งจะต้องไม่มีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติระหว่างแรงงานด้วยกันด้วยเงื่อนไข
               เรื่องอายุ นอกจากนี้ คณะท างานยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร เอกสารตีพิมพ์ งานวิจัย เหตุการณ์ปัจจุบัน และการ
               มอบรางวัล เพื่อจูงใจให้นายจ้างปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายที่ว่าด้วยการแบ่งแยกกีดกันด้วยอายุในการจ้าง

               งาน (The Employment Equality (Age) Regulations 2006)
                         นอกจากนี้ คณะท างาน Age Positive ได้สร้าง website www.agepositive.gov.uk โดยมุ่ง
               เผยแพร่ข้อมูล แนวทาง และวิธีปฏิบัติส าหรับนายจ้างในการส่งเสริมให้เกิดความยุติธรรมและการปฏิบัติโดย
               เท่าเทียมกันส าหรับแรงงานผู้สูงอายุใน 6 ด้านได้แก่ การสรรหา การคัดเลือก การเลื่อนต าแหน่ง การอบรม
               และการพัฒนา การเลิกจ้าง และการเกษียณอายุ ดังค ากล่าวที่ระบุไว้ใน website ว่าความหลากหลายของอายุ

                                                                          175
               ในการท างาน หมายถึงการจ้างงานคนทุกวัย โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าใครอายุเท่าไหร่
                     3.4.2 ผู้สูงอายุกับการคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต


                     ระบบบริการสุขภาพของสหราชอาณาจักร  (National Health Service : NHS) เกิดขึ้นหลัง
                                                       176
               สงครามโลกครั้งที่ 2 คือวันที่ 5 กรกฎาคม ค.ศ. 1948 เพื่อท าให้พัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาลให้เป็น
               ระบบสวัสดิการที่พลเมืองทุกคนได้รับความเสมอภาคเท่าเทียมกันและไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ภายใต้การดูแลของ

               Department of Health และกฎหมาย National Health Service Act of 2006 โรงพยาบาลทุก
               โรงพยาบาลจะได้รับงบประมาณเท่ากันหมดไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลใหญ่หรือเล็กจากภาษีของประชาชน

                         3.4.2.1 สถานการณ์

                         จากสถิติประชากรของประเทศอังกฤษ พบว่า มีผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไปถึงร้อยละ 18 และมี
               จ านวนเพิ่มขึ้น 2 เท่า ในระยะ 70 ปี ที่ผ่านมา และคาดการณ์ว่าจะมีจ านวนของผู้ที่อายุมากกว่า 90 ปี ขึ้นไป
               เพิ่มขึ้นอีกเป็น 2 เท่า ในอีก 25 ข้างหน้า นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบครอบครัวและผู้ร่วมอยู่อาศัย

               เนื่องจากโครงสร้างทางประชากรที่เปลี่ยนไป การสมรสเมื่ออายุมากขึ้น การไม่มีบุตรเมื่อสมรส และการหย่า
               ร้างเหล่านี้ท าให้ผู้สูงอายุต้องอยู่คนเดียวมากยิ่งขึ้น ต้องอาศัยอยู่กับเพียงคู่สมรส และมีแนวโน้มที่จะอยู่อาศัย


                    175 จาก โครงการศึกษาวิจัยแนวทางและมาตรการส่งเสริมการมีงานท าในผู้สูงอายุภายใต้โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
               การพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ไปสู่การปฏิบัติ. เล่มเดิม. (น. 3-14 – 3-15).
                    176 จาก การจัดระบบดูแลทางสังคมและระบบการดูแลระยะยาวส าหรับผู้สูงอายุในครอบครัวและชุมชน (น. 87), โดย
               คณะผู้วิจัย ส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2, 2558, กรุงเทพฯ: ส านักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ.
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216