Page 87 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 87

86     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน








                                ก�รตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่�งรอบด้�น





                                          ศิริวรรณ ขนุนทอง*





                                                บทคัดย่อ

                    หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNGP) ได้กำาหนดให้ภาคธุรกิจ
            เคารพสิทธิมนุษยชน โดยเสนอแนวทางให้ภาคธุรกิจ “รู้และแสดง” (know and show) ว่าได้เคารพ
            สิทธิมนุษยชนดังนี้ (1) แสดงความผูกพันมุ่งมั่นในระดับนโยบายว่าองค์กรจะเคารพสิทธิมนุษยชนโดยการ

            ประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท (2) ทำางานเชิงรุกโดยการจัดให้มีการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน
            อย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) และ (3) แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและทำาการชดเชย
            ต่อกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น หรือไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากการดำาเนินการของบริษัท

                    ทั้งนี้ กระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence:
            HRDD) เป็นเครื่องมือหลักในการแสดงความเคารพในสิทธิมนุษยชนของบริษัท อันประกอบด้วยหลักการสำาคัญ

            ตามที่ระบุไว้ในหลักการ UNGP 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การประกาศนโยบายและหลักการของบริษัท
            ที่ว่าด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชน  (2)  การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงหรือมีแนวโน้มที่อาจ
            เกิดขึ้นจากกิจกรรมของบริษัท (3) การบูรณาการนโยบายเข้ากับการประเมิน รวมถึงกลไกควบคุมภายในและ

            ภายนอก (4) การติดตามและการรายงานผลการดำาเนินงาน และ (5) การแก้ไขให้ถูกต้องและเยียวยา
                    บทความนี้ ผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะสรุปเนื้อหาใจความสำาคัญที่มีผู้วิจัยได้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว โดยมี

            ที่มาจากรายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง “การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due
            Diligence) และการจัดทำาคู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence
            Handbook) ของธุรกิจการโรงแรมรวมทั้งรายการตรวจสอบ (checklist) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการโรงแรม”

            ของสำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งมีนางสาวสฤณี อาชวานันกุล เป็นหัวหน้าโครงการ
            ศึกษาวิจัย



            คำ�สำ�คัญ:    การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง
            รอบด้าน สิทธิมนุษยชน ธุรกิจ




                       *   นักวิชาการสิทธิมนุษยชนปฏิบัติการ กลุ่มงานวิจัยสิทธิมนุษยชน สำานักวิจัยและวิชาการ สำานักงาน
            คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92