Page 71 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 71

70     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






                     คว�มเป็นไปได้ของสิทธิชุมชนในสภ�วะสมัยใหม่


                     ความเป็นสมัยใหม่ได้หล่อหลอมให้ชีวิตมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงบนฐานของการปรับปรุง และพัฒนา
            อยู่เสมอ หากพิจารณาในทางประวัติศาสตร์ ความเป็นสมัยใหม่คือผลผลิตสำาคัญในการก้าวข้าม และละทิ้งส่วนที่

            ไม่ต้องการออกไป ยิ่งในชีวิตประจำาวันของคนเรามีการเพิ่มศักยภาพการรับรู้สิ่งใหม่ ๆ ต่าง ๆ เร็วมากขึ้นเท่าไร

            ความเป็นสมัยใหม่ก็ยิ่งสำาแดงสภาวะแห่งความจำาเป็นจนแปรสภาพกลายเป็นสิ่งที่ขาดมิได้ รัฐประชาชาติเอง
            ถือเป็นผลผลิตจากความเป็นไปของประวัติศาสตร์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่ารัฐไม่เคยจำาเป็นสำาหรับผู้คนในยุคเข้าป่า
            ล่าสัตว์ และด้วยสาเหตุของการที่ไม่เคยมีรัฐมาก่อนนั้นเอง อิทธิพลในการสร้างความจำาเป็นที่จะต้องมีรัฐในช่วง

            เวลาที่เปลี่ยนไปก็ย่อมเป็นไปได้ ประกอบกับความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นด้วยกับปัจจัยทางประวัติศาสตร์นั้น ก็ย่อม

            ทำาให้เกิดความจำาเป็น การที่สิ่งหนึ่งได้เข้าไปสร้างความสำาคัญในชีวิตประจำาวันได้จึงถือเป็นผลผลิตจากความเป็น
            ไปได้จากสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและประกอบสร้างขึ้นมา
                     สำานึกชุมชนเรื่องสิทธิในสภาวะสมัยใหม่ที่ผูกโยงเข้ากับกฎหมาย หรือสถาบันทางสังคมถือเป็น

            ความเป็นไปได้ของสิทธิชุมชนในการทำาหน้าที่ต่อชุมชนนั้นได้อย่างหนึ่ง ถึงกระนั้นการสร้างความเป็นไปได้ไม่ใช่

            เรื่องที่จะสถาปนาได้ด้วยการไม่คำานึงถึงสิ่งที่ผ่านมาเลย การอาศัยเพียงอำานาจของความเป็นสมัยใหม่ที่คอย
            ตัดทอนสิ่งที่ถูกมองว่าไม่จำาเป็นตามความเข้าใจแบบสมัยใหม่นั้นก็คงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องนัก เพราะสิ่งที่จะต่อรอง
            กับกระบวนการในวาทกรรมที่พยายามห่อหุ้มและห้อมล้อม และครอบงำาสังคมให้เป็นไปนั้น คือการอาศัยการ

            กำาหนดความหมายด้วยมูลฐานของการมีอยู่ และไม่ใช่แค่รู้ถึงการมีอยู่ของตัวตน แต่ยังหมายความถึงอำานาจอื่น

            ที่ชุมชนปฏิสัมพันธ์จนประกอบขึ้นเป็นวิธีคิด และวิถีชีวิต


                     สิทธิชุมชนบริบทด้�นกฎหม�ยในประเทศไทย


                     สิทธิชุมชนเพิ่งถูกนำามากำาหนดอย่างแพร่หลายในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
            2540 ซึ่งถือกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนในการร่าง และเสนอแนวคิดที่ทันสมัย

            ต่อการปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ประชาธิปไตยในหลายประเด็น รวมถึงเรื่องสิทธิชุมชน ซึ่งได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 43
            บุคคล และชุมชนย่อมมีสิทธิ

                     (1) อนุรักษ์ฟื้นฟูหรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี
            อันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ

                     (2) จัดการ บำารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลาย
            ทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ

                     (3) เข้าชื่อกันเพื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐให้ดำาเนินการใดอันจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือ
            ชุมชน หรืองดเว้นการดำาเนินการใดอันจะกระทบต่อความเป็นอยู่อย่างสงบสุขของประชาชนหรือชุมชน และได้รับ
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76