Page 70 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 70

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  69






               เส้นแบ่งทางชุดคุณค่าในการกำาหนดผ่านการแสดงความเหนือกว่าด้วยกับการสร้างความหมายผ่านวาทกรรม

               (Discourse) ต่าง ๆ วาทกรรมจึงเป็นสิ่งสำาคัญทั้งในแง่ของระบบและกระบวนการ ในการประกอบสร้าง
               (Constitute) เอกลักษณ์ (Identity) และความหมาย (Significant) ที่เป็นไปในสังคมที่ห่อหุ้มสังคมผ่าน

               ความรู้ ความจริง อำานาจ หรือตัวตนของเราเอง วาทกรรมจึงเป็นการปฏิบัติการทางสังคมมากกว่าการที่จะอธิบายว่า
               วาทกรรมนั้นเป็นเพียงถ้อยคำาที่แสดงออกมา (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2542, น. 3-5) ดังเช่นที่ปรากฏในงานเขียน

               หลายชิ้นของ Michel Foucault (1926 – 1984) ซึ่งงานเขียนของเขาเองจัดเป็นหนึ่งทฤษฎีสกุลหลังโครงสร้างนิยม
               (Post-structuralism) หรือ หลังสมัยใหม่ (Post-modern)

                        ในขณะที่ Antonio Gramsci (1891 – 1937) นักคิดคนสำาคัญสำานักมาร์กซิสต์ใหม่ (Neo-Marxist)
               ได้ชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่เรียกว่าอำานาจนำา (Hegemony) ซึ่งเป็นอำานาจที่ชนชั้นปกครองหรือกลุ่มการเมืองได้สถาปนา

               คุณค่าเชิงศีลธรรมเชิงการเมือง และวัฒนธรรม จนกระทั่งกลายเป็นแบบแผนพฤติกรรมปฏิบัติในสังคมหนึ่งได้
               (Coutinho, 2000) จริงอยู่ที่กระบวนวิธีทางวาทกรรมอาจมีผลในการกำาหนดคุณค่า หรือวิธีคิดทางสังคม ซึ่งใน

               แนวคิดเรื่องอำานาจนำาของ Antonio Gramsci ก็มองเช่นนั้น แต่ในขณะเดียวกัน ในกรอบคิดการเมืองวัฒนธรรม
               อำานาจนำาเป็นสิ่งที่กำาหนดได้ทั้งจากรัฐ และสังคม (เกษียร เตชะพีระ, 2559) เครื่องมือทางวัฒนธรรมจึงไม่ใช่สิ่งที่

               ถูกผูกขาดในฐานะเครื่องมือของชนชั้นนำาตามความเข้าใจแบบวัฒนธรรมการเมืองอีกต่อไป ซึ่งจากกรอบคิดเรื่อง
               อำานาจนำา แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการปฏิบัติการทางสังคมผ่านเครื่องมือทางวัฒนธรรม อันจะช่วยให้

               สิทธิชุมชนสามารถสร้างกระบวนการในการต่อรองกับอำานาจนำาและการครอบงำาทางวาทกรรมของรัฐในสภาวะ
               ของความเป็นสมัยใหม่นี้ได้ ซึ่งความสำาคัญของกรอบคิดแบบหลังสมัยใหม่เหล่านี้ นักมานุษยวิทยาอย่าง Arturo

               Escobar (1952 – ปัจจุบัน) ได้นำาแนวคิดหลังสมัยใหม่มาปรับใช้กับแนวคิดการเมืองเชิงนิเวศ (Political Ecology)
               ให้สอดรับกันซึ่งเรียกว่า Post-structural Political Ecology ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการศึกษาการเมือง

               เชิงนิเวศ (Bryant & Bailey, 1997) อันมีลักษณะปัญหาเกี่ยวกับสิทธิชุมชนที่เกิดขึ้นในสังคมชนบทหรือสังคม
               ชายขอบ ในขณะเดียวกัน ปัญหาสิทธิชุมชนในเมือง การต่อรองผ่านการกำาหนดคุณค่า การให้ความหมายทาง

               วัฒนธรรมยังเป็นกระบวนการรื้อสร้าง (Reconstruction) ซึ่งช่วยในการต่อรองในประเด็นปัญหาเรื่องสิทธิชุมชน
               ระหว่างรัฐ และให้สังคมดำาเนินไปอย่างง่ายดาย ถึงกระนั้น การกำาหนดคุณค่าในกระบวนการการต่อรองเพื่อให้

               เป็นไปตามวัตถุประสงค์นั้น ยังคงมีปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เข้ามากำาหนดผลลัพธ์ในกระบวนการ ทำาให้การกำาหนด
               ยุทธวิธีการแก้ปัญหาในแต่ละกรณีศึกษานั้นมีความแตกต่างกันไป
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75