Page 69 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 69

68     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






                                 สิทธิชุมชนประมงพื้นบ้�นอ่�วปัตต�นี :

                             พลวัตในก�รเข้�ถึงสิทธิชุมชนจ�กหล�กหล�ยมิติ






                     สิทธิ (Rights) ในสภาวะสังคมสมัยใหม่นั้นได้ถูกกำาหนดขึ้นพร้อมกับระบบความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน
            ระหว่างรัฐ และสังคม ความเข้าใจในเรื่องที่ว่ามนุษย์คนหนึ่งเกิดมาจะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม

            ตลอดจนสวัสดิการทางสังคมโดยรัฐนั้น จึงเป็นเรื่องที่มีการประกอบสร้างภายหลังผ่านตัวแสดงที่เป็นรัฐ
            ถึงกระนั้น กลไกทางเศรษฐกิจตามแนวความคิดของอดัม สมิธ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงศตวรรษที่ 20

            ก็มีความสำาคัญในการทำาให้เรื่องสิทธิเป็นสิ่งที่เข้ากำาหนดขนาดของรัฐเชิงอำานาจ ตลอดจนกลไกทางกฎหมาย
            ในการที่จะชี้ชัดถึงสิทธิในการเข้าควบคุมรัฐผ่านระบบนิติรัฐ (ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 2559, น. 348) จึงกล่าวได้ว่า

            สิทธินั้นเป็นการประกอบสร้างผ่านสภาวะของความเป็นสมัยใหม่  ในขณะเดียวกัน สภาวะความเป็นสมัยใหม่นี้เอง
            ก็มีความต้องการที่จะสลัดความคิดเรื่องความเชื่อหรือศาสนาออกไป (ธเนศ วงศ์ยานนาวา, 2544) เพื่อแสดง

            ให้เห็นถึงความกล้าหาญที่จะกำาหนดวิถีชีวิตหรือความเป็นไปแห่งชะตากรรมด้วยตนเอง การเกิดแนวคิดว่าด้วย
            สัญญาประชาคม (Social Contract Theory) จึงเป็นเครื่องหมายทางประวัติศาสตร์ว่าด้วยสิทธิในสังคมสมัยใหม่

            ที่แสดงให้เห็นความสำาคัญของผู้คนต่อการกำาหนดสังคมการเมืองผ่านความเป็นปัจเจก (Individual) โดยที่สมาชิก
            ในสังคมต่างเชื่อว่าตนมีสิทธิในการกำาหนดชะตากรรมทางการเมือง ซึ่งหากมองตามวิธีคิดแบบศาสนาแล้วนั้น

            ชะตากรรมเป็นเรื่องที่พระผู้เป็นเจ้ากำาหนดมาตั้งแต่เดิม ชะตากรรมไม่ใช่เรื่องของมนุษย์ที่จะทำาการแตะต้อง
            ตกแต่งหรือให้เป็นไปตามความปรารถนาของตน แม้ว่าพลังอำานาจในการกำาหนดชะตากรรมนั้นจะมาจากสิ่งที่

            เรียกว่า เจตจำานงร่วมทางการเมือง (Political Will) ก็ตาม
                     บริบททางสังคม ถือว่ามีอิทธิพลสำาคัญในการกำาหนดความเข้าใจว่าสิทธินั้นเป็นไปตามวิธีคิด และ

            วิถีชีวิตในลักษณะแบบใด การอธิบายสิทธิด้วยกับการสร้างมาตรฐานเดียวในการทำาความเข้าใจวิถีชีวิตของ
            ผู้คนในสังคมที่ก่อกำาเนิดขึ้นอย่างซับซ้อนในทางประวัติศาสตร์จึงเป็นการทำาความเข้าใจที่คับแคบและตายตัว

            สิทธิการดำารงอยู่ของผู้คนในทางสังคมจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปตามบริบทของชุมชนหรือสังคม อันเป็นธรรมชาติของ
            ผู้คนในแต่ละถิ่นนั้น ๆ ตั้งแต่เดิม ถึงกระนั้น พลวัตทางสังคมที่ปรับเปลี่ยนไปกลับนำาไปสู่ความทับซ้อนในเรื่องของ

            ชุดคุณค่า และการให้ความหมายทางสังคม การแสดงอำานาจเพื่อลดทอนหรือตัดทิ้งผ่านการต่อสู้ของสภาวะ
            ต่าง ๆ จึงดำาเนินมาตลอดในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอินเดียนแดงในทวีปอเมริกา หรือ

            การล่าอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ ตลอดจนการกำาหนดความเป็นตะวันออก ตะวันตก ได้แสดงให้เห็นถึง
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74