Page 23 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 23
22 วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน
1) หาก a ใช้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง a จะได้รับผล
ประโยชน์ส่วนตน (personal benefit) จากการที่ตนใช้เสรีภาพดังกล่าว อย่างน้อยที่สุดคือความพึงพอใจที่ตน
สามารถได้พูดได้แสดงออกอย่างเสรี หากการแสดงออกนั้นไปพาดพิงเรื่องส่วนตัวของ b กรณีนี้ b ก็มีผลประโยชน์
ส่วนตัว (personal benefit) ในการรักษาชื่อเสียงเกียรติยศของตนไว้เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากกำาหนดให้ PBa
หมายถึง ผลประโยชน์ส่วนตัวของ a และ PBb หมายถึงผลประโยชน์ส่วนตัวของ b เราจะสร้างสมการได้ดังนี้
PBa = PBb ------------------ 1
จากสมการนี้จะเห็นได้ว่า ทั้ง a และ b ล้วนเป็นปัจเจกชนที่มีสิทธิเสรีภาพอย่าง
เท่าเทียมกัน ผลประโยชน์ของ a และ ของ b จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน กล่าวคือ
a จะแสดงออกซึ่งความคิดอย่างไรก็ได้ แต่ต้องไม่ไปรุกลำ้าสิทธิในชื่อเสียงเกียรติยศของ b
2) หาก a ใช้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดในประเด็นสาธารณะ จะเกิด
ประโยชน์สองอย่างขึ้นในมุมของ a กล่าวคือ ประโยชน์ส่วนตัวของ a (แสดงด้วย PBa) ที่ a ได้ใช้การแสดงออก
อย่างเสรี และประโยชน์ส่วนรวมของสังคม (แสดงด้วย SB) ที่อาจเป็นการนำาไปสู่การป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่รัฐ
ทุจริต และให้การทำางานภาครัฐเป็นไปอย่างถูกต้อง สุจริต และเที่ยงธรรม ในขณะที่ b ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ
ที่ถูกติดตามตรวจสอบ ก็จะมีประโยชน์ที่เกี่ยวข้องเพียงอย่างเดียวคือ ชื่อเสียงเกียรติยศของตน (แสดงด้วย PBb)
ดังนั้นจึงแสดงสมการได้ดังนี้
PBa + SB > PBb ------------------- 2
เมื่อประโยชน์ส่วนตัวจากการแสดงออกซึ่งความคิดและประโยชน์ของสังคมเป็น
ไปในทิศทางเดียวกัน การรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของสังคมจึงเป็นสิ่งที่สังคมปรารถนา (socially desirable)
ที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการต้องร่วมกันออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาไว้ซึ่ง
31
ประโยชน์สังคม
31 หลักดังกล่าวสะท้อนให้เห็นแล้วในความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา
330 ซึ่งบัญญัติว่า “ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำาความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็น
ความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์
จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน”
กล่าวคือ ในเรื่องการพิสูจน์ความจริงเพื่อไม่ต้องรับโทษฐานหมิ่นประมาท อธิบายได้ว่า หากผู้หมิ่น
ประมาทพิสูจน์ความจริงได้ ก็จะได้รับการยกเว้นโทษ ถ้าการหมิ่นประมาทในเรื่องส่วนตัวและไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ก็ห้ามมิให้มีการพิสูจน์ความจริงสอดคล้องกับ สมการที่ 1 แต่ถ้าการหมิ่นประมาทในเรื่องส่วนตัวที่เป็นประโยชน์ต่อ
ประชาชนก็สามารถพิสูจน์เพื่อให้ยกเว้นโทษได้ สอดคล้องกับ สมการที่ 2