Page 20 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 20

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  19






                  6    วิเคร�ะห์บริบทของกฎหม�ย Anti-SLAPP ในประเทศไทย

                        การดำาเนินคดีเพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะเกิดขึ้นจริงในประเทศไทย และกระทบ

               ถึงประโยชน์สาธารณะที่ต้องการให้มีการใช้สิทธิตรวจสอบประเด็นสาธารณะอย่างเสรีซึ่งเป็นสิ่งคู่กันกับระบอบ
               ประชาธิปไตย ซึ่งปรากฏในกฎหมายของต่างประเทศที่เข้ามาแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการบัญญัติกฎหมาย

               Anti-SLAPP law ในบทนี้จะวิเคราะห์ถึงเหตุผลความจำาเป็นในการแก้ปัญหาการฟ้องข่มขู่หรือคุกคามใน
               ประเทศไทย และแนวทางการใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวในประเทศไทย



                        6.1 เหตุผลในก�รใช้กฎหม�ย Anti-SLAPP

                            เหตุผลที่จะต้องมีและใช้กฎหมาย Anti-SLAPP เพื่อการสนับสนุนให้มีการใช้เสรีภาพทางการ

                                                                                             25
               แสดงออกซึ่งความคิดในประเด็นสาธารณะอธิบายได้จากพื้นฐานแนวคิดที่ขัดแย้งกันของสิทธิมนุษยชนสองเรื่อง
               และแนวทางการใช้สิทธิเสรีภาพในบริบทของการฟ้องข่มขู่หรือคุกคามในสังคมไทย โดยแสดงได้จากสมการ

               Anti-SLAPP Law

                            6.1.1 แนวคิดที่ขัดแย้งกันของ freedom of expression และ right to reputation
                                 มีแนวคิดที่ขัดแย้งกันระหว่าง “เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิด” (freedom of

                                                                  27
                         26
               expression)  กับ “สิทธิในเกียรติยศชื่อเสียง” (right to reputation)  กล่าวคือ บุคคลทุกคนมี “เสรีภาพใน
               การแสดงออกซึ่งความคิด” ตราบเท่าที่ไม่ไปกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ซึ่งสิทธิบุคคลอื่นที่ถูก
                                                                      28
               กระทบกระเทือนในที่นี้คือ “สิทธิในเกียรติยศชื่อเสียง” ของบุคคลอื่นที่ถูกพาดพิง  เช่น แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี
               ทำาได้ภายใต้เสรีภาพ แต่ไปพูดในเรื่องส่วนตัวของบุคคลอื่นทำาให้เสียชื่อเสียงไม่ได้ เป็นต้น

                                 นอกจากนี้ การแสดงออกซึ่งความคิดยังต้องไม่ไปกระทบ “ความสงบเรียบร้อยของ
               ประชาชน” (public order) เช่น แสดงความคิดเห็นอย่างเสรีทำาได้ภายใต้เสรีภาพ  แต่การพูดปลุกระดมให้เกิด

               ความแตกแยกในสังคมถูกห้ามโดยกฎหมายหลายประเทศ แม้ในประเทศประชาธิปไตยสมบูรณ์ เช่น ในประเทศ
               อังกฤษการหมิ่นประมาทแม้เป็นความผิดอาญาและเป็นเรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง แต่การดำาเนินคดี

               อาญาฐานหมิ่นประมาทก็น้อยมากและไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากศาล ยกเว้นแต่การหมิ่นประมาทที่ทำาให้


                          25    From “Freedom of expression and the right to reputation: human right in conflict.”
               by S. Smet, 2011, American University International Law Review, 26(1), p. 183-236.
                          26    Freedom of expression เป็นเสรีภาพที่ได้รับการรับรองในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
               ข้อ 19 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19
                          27    Right to reputation เป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองใน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมือง
               และสิทธิพลเมืองข้อ 19 (3)(a)
                          28    From International Covenant on Civil and Political Rights. article 19.
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25