Page 28 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 28

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  27






               ของศาล ให้ศาลที่ไต่สวนมูลฟ้องตั้งประเด็น เรื่องการหมิ่นประมาทดังกล่าวเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรม

               ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำาหรือไม่ เพื่อพิจารณาเบื้องต้น และหากเป็นการกระทำา

               เพื่อประโยชน์สาธารณะแล้ว ศาลสามารถนำาเหตุดังกล่าวมาเป็นเหตุยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้เลย โดยไม่จำาเป็น
               ต้องประทับรับฟ้องและสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้แสดงข้อเท็จจริงหรือความเห็นโดยสุจริตในประเด็นสาธารณะ

               โดยจำาเลยอาจจะต้องแสดงหลักฐานเบื้องต้นให้เห็นว่าตนได้แสดงข้อความหรือความเห็นโดยสุจริต เช่นเดียวกัน

               กับการฟ้องข่มขู่หรือคุกคามโดยการฟ้องฐานแจ้งความเท็จ ในขณะไต่สวนมูลฟ้องควรจะให้ศาลยกประเด็นเรื่อง
               การใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะขึ้นเป็นประเด็นใช้ชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้เช่นกัน

                                 2) ก�รร้องทุกข์ให้พนักง�นสอบสวนและพนักง�นอัยก�รดำ�เนินคดีอ�ญ�
                                    ผู้กระทำาการฟ้องข่มขู่หรือคุกคามอาจใช้วิธีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้

               ดำาเนินคดีอาญาฐานหมิ่นประมาท พนักงานสอบสวนจะเริ่มสอบสวนเพราะเป็นความผิดอาญาต่อส่วนตัวที่มี

               การร้องทุกข์ตามระเบียบแล้ว เมื่อคดีมีมูลพนักงานสอบสวนจะส่งให้พนักงานอัยการเพื่อพิจารณาว่าจะฟ้องหรือ
               ไม่ฟ้องคดีอาญา พนักงานอัยการจึงมีบทบาทสำาคัญในการประเมินประโยชน์สาธารณะในการดำาเนินคดีที่มี

               ลักษณะของการฟ้องข่มขู่หรือคุกคาม กล่าวคือ หากเป็นคดีปรากฏชัดเจนว่ามีลักษณะของการฟ้องข่มขู่หรือคุกคาม
               และปรากฏชัดเจนว่าเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตของผู้ต้องหาในการแสดงความเห็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ พนักงาน

               อัยการควรใช้คำาสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาโดยอ้างประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 (3) ซึ่งเป็นคำาสั่งไม่ฟ้องคดีเพราะ

               เหตุว่าการกระทำาไม่เป็นความผิด แต่หากกรณีความปรากฏยังไม่ชัดเจน พนักงานอัยการอาจใช้คำาสั่งไม่ฟ้องคดี
               โดยยกเหตุการฟ้องคดีไม่เป็นประโยชน์สาธารณะตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ

               พ.ศ. 2553 มาตรา 21 วรรค 2  ได้ เพราะแม้จะมองว่าการกระทำาอาจเป็นความผิด แต่การฟ้องคดีอาญาเพื่อ
                                      35
               SLAPP ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะแต่อย่างใด

                  7    บทสรุปและข้อเสนอแนะ


                        การดำาเนินคดีเพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะหรือการฟ้องข่มขู่คุกคามมีผลให้บุคคล
               สูญเสียแรงจูงใจในการแสดงข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นในกิจการสาธารณะอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศ

               ซึ่งจะส่งผลให้การทำางานภาครัฐรวมทั้งภาคธุรกิจรายใหญ่ขาดการตรวจสอบจากภาคประชาชนอย่างน่าเสียดาย





                          35    พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 วรรค 2 “ถ้าพนักงาน
               อัยการเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคง
               ของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำาคัญของประเทศ ให้เสนอต่ออัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดมีอำานาจสั่งไม่ฟ้องได้ ทั้งนี้
               ตามระเบียบที่สำานักงานอัยการสูงสุดกำาหนด โดยความเห็นชอบของ ก.อ.”
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33