Page 25 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 25

24     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






                                 หากพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีที่ผู้แสดงข้อเท็จจริงไม่มีความผิดฐานละเมิดคือ

            กรณีที่ 1 และ 2.3 ส่วนในกรณีที่ 2.1 เป็นกรณีจงใจให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายย่อมเป็นความรับผิดฐานละเมิดอยู่แล้ว

            ดังนั้น เหลือกรณีที่เป็นปัญหาคือ กรณีที่ 2.2 ที่ผู้แสดงข้อเท็จจริงหรือความเห็นไม่รู้ว่าเป็นความไม่จริง แต่อยู่ใน
            พฤติการณ์ที่ควรรู้ว่าเป็นความไม่จริง ซึ่งตามหลักมาตรา 423 แล้วผู้กระทำาจะมีความรับผิดฐานละเมิด และ

            เป็นการละเมิดเพราะประมาท มิได้จงใจให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายแต่อย่างใด

                                 บทบัญญัติในกฎหมายแพ่งจึงไม่มีการคุ้มครองผู้แสดงข้อเท็จจริงและความเห็น
            ในประเด็นสาธารณะโดยสุจริต และยังสุ่มเสี่ยงที่จะถูกดำาเนินคดีแม้เป็นการกล่าวเรื่องจริง หรือกล่าวเรื่องไม่จริง

            ที่ผู้กล่าวเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นเรื่องจริง ส่วนกรณีผู้กล่าวเรื่องเท็จโดยทุจริตโดยรู้ว่าเป็นการกล่าวเรื่องเท็จ
            ก็ไม่สมควรที่จะคุ้มครองแต่อย่างใด

                                 การเพิ่มเติมมาตรา 423 วรรค 3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อคุ้มครอง

            ผู้แสดงข้อเท็จจริงและความคิดเห็นโดยสุจริตจะเป็นการรักษาผลประโยชน์สาธารณะ และเป็นการป้องกันมิให้เกิด
            การ SLAPP ในเชิงกฎหมายสารบัญญัติอีกด้วย กล่าวคือ การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายที่ผู้กล่าวเชื่อโดยสุจริตว่า

            เป็นความจริงในประเด็นกิจการสาธารณะย่อมได้รับความคุ้มครอง
                                 ข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423

            จึงเป็นดังนี้ ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423

                                 “ผู้ใดกล่�วข้อคว�ม แสดงคว�มคิดเห็น หรือไขข่�วแพร่หล�ยโดยสุจริตในกิจก�ร
            ส�ธ�รณะ ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่�สินไหมทดแทน”

                              2) กฎหม�ยวิธีสบัญญัติ

                                 หากมีการฟ้องร้องดำาเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายจากการที่ผู้ใดผู้หนึ่ง
            แสดงข้อเท็จจริงหรือความเห็นในประเด็นสาธารณะ (SLAPP) ผู้ถูกดำาเนินคดีจะดำาเนินการอย่างไรเพื่อให้

            คดีเสร็จเด็ดขาดไปอย่างรวดเร็ว และผลักภาระการดำาเนินคดีให้กับผู้ฟ้องคดี

                                 โดยหลักทั่วไปค่าฤชาธรรมเนียม รวมทั้งค่าทนายความที่ใช้ในการดำาเนินคดีแพ่ง
            จะตกเป็นภาระของผู้แพ้คดีแพ่ง กล่าวคือ หากโจทก์ชนะคดี จำาเลยต้องจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ

            แทนโจทก์ หากจำาเลยชนะคดี โจทก์จะต้องจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนจำาเลย ดังนั้น ในประเด็น
            ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความดูจะเป็นปัญหาไม่มากนักสำาหรับกรณีที่มีการฟ้องข่มขู่หรือคุกคามใน

            ประเทศไทย

                                 อย่างไรก็ดี หากการพิจารณาคดีแพ่งเป็นไปอย่างเนิ่นนาน อาจส่งผลเสียให้กับ
            ผู้ถูกฟ้องคดีข่มขู่หรือคุกคามทั้งทางทรัพย์สินที่ต้องสำารองออกไปก่อน รวมทั้งทางจิตใจ ดังนั้น ทางออกเพื่อให้การ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30