Page 18 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 18
ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561) 17
“ผลประโยชน์หลัก” จากคดี เช่น คำาพิพากษาว่าฝ่ายจำาเลยผิดและให้โฆษณาและจ่ายค่าเสียหาย แต่ผู้ดำาเนินคดี
กลับมุ่ง “ประโยชน์ที่เป็นผลพลอยได้” คือ การทำาลายแรงจูงใจในการติดตามตรวจสอบประเด็นสาธารณะ กล่าวคือ
ผู้ดำาเนินคดีอาญาเพื่อการฟ้องข่มขู่หรือคุกคามจะได้ผลประโยชน์จากการข่มขู่ยับยั้งการติดตามในประเด็น
สาธารณะมากกว่าต้นทุนที่จะต้องสูญเสีย ซึ่งบางครั้งอาจไม่มีต้นทุนต้องเสียเลยหากเป็นการร้องทุกข์ให้พนักงาน
สอบสวนดำาเนินคดีให้ ดังนั้น วิธีการฟ้องข่มขู่หรือคุกคาม ในประเทศไทยจึงน่าจะใช้การดำาเนินคดีอาญามากกว่า
18
การดำาเนินคดีแพ่ง ซึ่งวิธีการใช้การดำาเนินคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทเพื่อการฟ้องข่มขู่หรือคุกคามไม่ปรากฏใน
สหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นประเทศที่หมิ่นประมาทเป็นความรับผิดทางแพ่งและไม่เป็นความรับผิดทางอาญา
4.2 ก�รดำ�เนินคดีอ�ญ�ฐ�นแจ้งคว�มเท็จ
เนื่องจากประเทศไทยเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาได้ด้วยตนเอง ดังนั้น จึงเป็นอีก
19
ช่องทางหนึ่งที่ให้บุคคลที่ถูกพาดพิงในประเด็นสาธารณะฟ้องคดีอาญากับผู้แสดงข้อเท็จจริงหรือแสดงความ
คิดเห็น ในกรณีที่บุคคลใดต้องการติดตามตรวจสอบประเด็นสาธารณะและได้ดำาเนินการแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน
ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำาเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีมูลว่าปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เจ้าพนักงานที่ถูกแจ้งความอาจ
ใช้การฟ้องคดีอาญาฐานแจ้งความเท็จตอบโต้เพื่อเป็นการฟ้องข่มขู่หรือคุกคามได้ โดยศาลเคยวินิจฉัยว่าการฟ้อง
คดีอาญาฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 เอกชนผู้กล่าวอ้างว่าได้รับความเสียหายเป็น
พิเศษเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีได้ วัตถุประสงค์ของผู้ดำาเนินคดีอาญาฐานแจ้งความเท็จโดยการฟ้องข่มขู่
20
หรือคุกคาม คือ การใช้การดำาเนินคดีอาญาเพื่อบีบให้ผู้ใช้เสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิด ยุติการติดตาม
ตรวจสอบในประเด็นสาธารณะ
18 ดังปรากฏเป็นตัวอย่างการฟ้องคดีอาญา เช่น “กรมทหารพรานที่ 41 ยะลา เดินหน้าฟ้อง ‘พรเพ็ญ
คงขจรเกียรติ’ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ข้อหาหมิ่นประมาททำาให้เสื่อมเสียชื่อเสียง หลังออก จดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้
สอบสวนกรณีทำาร้ายร่างกายผู้ถูกควบคุมตัว”. จาก ตร. เตรียมแจ้งข้อกล่าวหา ‘ผอ.มูลนิธิผสานฯ’ 14 ก.ย.นี้ หมิ่นประมาท
กรมทหารพรานที่ 41, โดย ประชาไท, 2557, สืบค้นจาก http://www.prachatai.com/journal/2014/09/55461
19 จาก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28. ให้อำานาจพนักงานอัยการและผู้เสียหาย
ในการฟ้องคดีอาญา
20 จาก คำาพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2518. สืบค้นจาก ระบบสืบค้นคำาพิพากษา คำาสั่งคำาร้องและคำา
วินิจฉัยศาลฎีกา