Page 24 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 24

ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)  23






                        6.2 แนวท�งก�รใช้กฎหม�ย Anti-SLAPP เพื่อประโยชน์ของสังคม

                            สมการ Anti-SLAPP Law แสดงให้เห็นว่าเมื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะสร้างประโยชน์

               ส่วนตนให้กับผู้มีส่วนร่วมและยังให้ประโยชน์กับส่วนรวมเรื่องการบริหารบ้านเมืองที่ดี การคุ้มครองผู้แสดง
               ข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในประเด็นสาธารณะจากการถูกดำาเนินคดีจึงมีความจำาเป็น ซึ่งแยกออกเป็น

               ในคดีแพ่งและคดีอาญา

                            6.2.1 กฎหม�ย Anti-SLAPP ในคดีแพ่ง
                                 หลักกฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องข่มขู่หรือคุกคามแยกได้เป็นกฎหมาย

               สารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ

                                 1) กฎหม�ยส�รบัญญัติ
                                    เมื่อมีบุคคลใดแสดงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะ  บุคคล

               ดังกล่าวอาจถูกดำาเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
                  32
               423  ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวแยกพิจารณาเป็นกรณีได้ ดังนี้
                                    กรณีที่ 1 ผู้ใดแสดงข้อเท็จจริงหรือความเห็นที่เป็นสิ่งที่เป็นจริง (truth) เช่นนี้

               ผู้กระทำาการดังกล่าวไม่มีความรับผิดทางละเมิด
                                    กรณีที่  2  ผู้ใดแสดงข้อเท็จจริงหรือความเห็นที่เป็นสิ่งที่ไม่จริง  (untruth)

               แยกพิจารณาเป็น
                                            2.1 ถ้าผู้กระทำารู้ว่าเป็นสิ่งไม่จริง ผู้กระทำาจะมีความรับผิดฐานละเมิด

               (เป็นกรณีจงใจให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย)

                                            2.2 ถ้าผู้กระทำาไม่รู้ว่าเป็นสิ่งไม่จริง แต่ผู้กระทำาควรรู้ว่าเป็นสิ่งไม่จริง
               ผู้กระทำาจะมีความรับผิดฐานละเมิด (เป็นกรณีประมาทและเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย)

                                            2.3 ถ้าผู้กระทำาไม่รู้ว่าเป็นสิ่งไม่จริง และไม่ใช่พฤติการณ์ที่ผู้กระทำาควรรู้

               ว่าเป็นสิ่งไม่จริง ผู้กระทำาจะไม่มีความรับผิดฐานละเมิด (เพราะไม่ได้จงใจหรือประมาท)






                          32    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 บัญญัติว่า “ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความ
               อันฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำามาหาได้ หรือ
               ทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิด
               แต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
                              ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบ
               ในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำาให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่”
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29