Page 27 - วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561)
P. 27

26     วารสารวิชาการสิทธิมนุษยชน






            วิสัยของประชาชนย่อมกระทำา (และควรจะต้องกระทำาเพื่อประโยชน์ส่วนรวม) ดังนั้น การแสดงข้อเท็จจริงหรือ

            ความคิดเห็นโดยสุจริตในประเด็นสาธารณะจึงไม่น่าจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยเข้าข้อยกเว้นตาม

            ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 (3)
                              อย่างไรก็ดี การดำาเนินคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทเพื่อปิดปากการแสดงความคิดเห็น

            หรือการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะถูกนำามาใช้มาก เพราะการดำาเนินคดีอาญาไม่มีต้นทุนค่าธรรมเนียมศาล

            และคดีอาญามีโทษจำาคุกซึ่งเป็นสิ่งบีบคั้นผู้ใช้สิทธิโดยสุจริตได้มากกว่าการฟ้องคดีแพ่ง ซึ่งวิธีการดำาเนินคดีอาญา
            ฐานหมิ่นประมาทแยกออกเป็นการฟ้องคดีอาญาเอง และการร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ

            ดำาเนินคดีอาญา
                              1) ก�รฟ้องคดีอ�ญ�เอง

                                 หากโจทก์ฟ้องคดีอาญาผู้แสดงข้อความหรือความคิดเห็นในกิจการสาธารณะ

            อันเป็นลักษณะของการข่มขู่หรือคุกคาม ศาลอาญาจะไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ก่อนเสมอ ซึ่งในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
            เป็นเรื่องระหว่างศาลอาญากับโจทก์ที่จะนำาพยานมาสืบให้เห็นมูลความผิด โดยจำาเลยไม่จำาเป็นต้องมาปรากฏตัว

            ในศาล แต่สามารถตั้งทนายมาซักค้านได้  โดยประเด็นในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมีเพียงแค่ “จำาเลยได้ใส่ความโจทก์
                                         34
            ต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังหรือไม่” ซึ่งหากโจทก์นำาสืบครบถ้วน

            ในเบื้องต้น ศาลจะประทับรับฟ้องโจทก์และเรียกหรือจับจำาเลยมาดำาเนินคดี และจำาเลยจะได้รับความเดือดร้อน

            อาจถูกควบคุมตัวระหว่างพิจารณา หรือต้องหาหลักประกันตัวมาประกันตัวเองในระหว่างการพิจารณาคดี
            โดยในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนี้ ยังไม่มีประเด็นเรื่อง การติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย

            ของประชาชนย่อมกระทำา ตามมาตรา 329 (3) เพราะเป็นประเด็นที่จำาเลยจะยกเป็นข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณา

            ดังนั้น การไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญาที่มีการฟ้องคดีเพราะการฟ้องข่มขู่หรือคุกคาม และการประทับรับฟ้องว่า
            คดีมีมูล ย่อมส่งผลเสียต่อจำาเลยผู้แสดงข้อเท็จจริงหรือความเห็นโดยสุจริตในประเด็นสาธารณะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

                                 ตามที่ได้วิเคราะห์แล้วในหัวข้อ 4.1.2 ว่าการดำาเนินคดีอาญาฐานหมิ่นประมาท

            ให้ประโยชน์กับผู้ดำาเนินคดีมากกว่าต้นทุน ดังนั้น ผู้ดำาเนินคดีจึงนิยมเลือกการดำาเนินคดีอาญามากกว่าคดีแพ่ง
            อีกทั้งการไต่สวนมูลฟ้องและการประทับรับฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องเพราะเหตุ SLAPP ยิ่งสร้างแรงกดดันให้ผู้แสดง

            ข้อเท็จจริงหรือความเห็นในประเด็นสาธารณะอย่างมาก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวน่าจะใช้การออกระเบียบภายใน




                       34    ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 165 วรรค 3 บัญญัติว่า “ในคดีราษฎรเป็นโจทก์
            ศาลมีอำานาจไต่สวนมูลฟ้องลับหลังจำาเลย ให้ศาลส่งสำาเนาฟ้องแก่จำาเลยรายตัวไป กับแจ้งวันนัดไต่สวนให้จำาเลยทราบ
            จำาเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้อง โดยตั้งทนายให้ซักค้านพยานโจทก์ด้วยหรือไม่ก็ได้ หรือจำาเลยจะไม่มา แต่ตั้งทนายมา
            ซักค้านพยานโจทก์ก็ได้ ห้ามมิให้ศาลถามคำาให้การจำาเลย และก่อนที่ศาลประทับฟ้องมิให้ถือว่าจำาเลยอยู่ในฐานะเช่นนั้น”
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32