Page 89 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 89
72
6) สภา อบต.แม่ทา เรียกประชุมสมาชิก อบต. เพื่อเสนอร่างข้อบัญญัติต้าบลเรื่องการ
จัดการป่าชุมชนต้าบลแม่ทา (ประชุมวาระที่ 2) และให้ที่ประชุมปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมร่างข้อบัญญัติ
ต้าบลและได้รับมติเห็นชอบให้น้าร่างข้อบัญญัติต้าบลไปจัดท้าเวทีประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็น
ร่วมกับองค์กรชาวบ้านแม่ทา 7 หมู่บ้าน
7) อบต.แม่ทา จัดประชุมองค์กรชาวบ้านแม่ทา 7 หมู่บ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจและท้า
ประชาพิจารณ์ พร้อมรับฟังความคิดเห็นต่อข้อบัญญัติต้าบล
8) อบต.แม่ทา รวบรวมข้อคิดเห็นและน้าไปปรับปรุงแก้ไขต่อร่างข้อบัญญัติต้าบล ตาม
มติส่วนใหญ่ของเวทีประชาพิจารณ์องค์กรชาวบ้านแม่ทา 7 หมู่บ้าน
9) สภา อบต.แม่ทา เรียกประชุมสมาชิก อบต. เพื่อขอมติรับรองให้ความเห็นชอบต่อร่าง
ข้อบัญญัติต้าบล เรื่องการจัดการป่าชุมชน ต้าบลแม่ทา (ประชุมวาระที่ 3) และที่ประชุมมีมติรับร่าง
ข้อบัญญัติต้าบล และให้น้าไปเสนอต่ออ้าเภอ เพื่อการพิจารณา
10) อ้าเภอแม่ออนศึกษาและพิจารณาร่างข้อบัญญัติต้าบล เรื่องการจัดการป่าชุมชนต้าบล
แม่ทา ตามขั้นตอนของมาตรา 71 พ.ร.บ. อบต. พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546
11) สภา อบต.แม่ทา จัดประชุมสมาชิกเพื่อพิจารณา ทบทวน และขอมติตามร่าง
ข้อบัญญัติต้าบล เรื่องการจัดการป่าชุมชน ต้าบลแม่ทา ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของ
จ้านวนสมาชิก อบต. ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ และมีมติให้นายก อบต. ลงชื่อ และประกาศใช้ตามขั้นตอน
ของมาตรา 71 พ.ร.บ. อบต. พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546
12) นายก อบต. ลงนาม และออกค้าสั่งประกาศข้อบัญญัติต้าบลแม่ทา เรื่องการจัดการ
ป่าชุมชนต้าบลแม่ทา และน้าไปติดประกาศตามที่ระเบียบก้าหนดไว้
จากการด้าเนินการดังกล่าวส่งผลให้ อบต.แม่ทา สามารถออก “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วน
ต้าบลแม่ทาว่าด้วยการจัดการป่าชุมชนต้าบลแม่ทา พ.ศ. 2550” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือส้าหรับจัดการป่า
ชุมชนและทรัพยากรอื่นที่เกี่ยวข้องจนถึงปัจจุบัน (อรอนงค์ พลอยวิเลิศ และกฤษฎา วงศ์วิลาสชัย,
2556)
ในปัจจุบันชุมชนยังคงรูปแบบการจัดการน้้าในระบบเหมืองฝายเพื่อผันน้้าและแบ่งปันน้้าใน
พื้นที่เกษตร นอกจากนี้ ทุกครัวเรือนยังใช้น้้าผ่านระบบประปาภูเขา มีโรงงานผลิตน้้าดื่มตั้งอยู่ที่หมู่ 4
บ้านห้วยทราย ชุมชนยังมีกฎเกณฑ์ร่วมกันในการใช้ทรัพยากร เช่น ไม้ หน่อไม้ ผักป่า แมลง และของป่า
อื่น ๆ (ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า – ประเทศไทย, 2557)
นอกจากการจัดตั้งองค์กร การออกกฎ/ข้อบัญญัติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น (ระบบเหมืองฝาย)
เพื่อจัดการทรัพยากรน้้าหรือทรัพยากรป่าของคนในชุมชนแม่ทาแล้ว วัฒนธรรมและประเพณียังเป็น
อีกหนึ่งรูปแบบที่คนในชุมชนแม่ทาน้ามาปรับใช้ส้าหรับจัดการทรัพยากรน้้าตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั่นคือ