Page 54 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 54
42
ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อการปฏิรูปประเทศของหมวด 16 “สภาปฏิรูปแห่งชาติ” จึงได้ก้าหนด
วาระที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้้าคือ “วาระปฏิรูปที่ 25 : ระบบการบริหารจัดการทรัพยากร : การปฏิรูป
กลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน ้า” เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้้าเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ สมดุล ยั่งยืน ทั่วถึงและเป็นธรรมภายใต้การด้าเนินการโดยคณะกรรมาธิการปฏิรูป
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ ได้เสนอ “การปฏิรูปกลไกการบริหาร
จัดการทรัพยากรน ้า” ครอบคลุมการปฏิรูป 6 ด้าน ได้แก่ (1) การพิจารณาปรับเปลี่ยนโครงสร้าง
องค์กรการบริหารจัดการทรัพยากรน้้าในระดับชาติ ระดับลุ่มน้้า และระดับพื้นที่ ตลอดจนการปรับ
พันธกิจหน่วยงานปฏิบัติการให้สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กรรูปแบบใหม่ (2) การสร้างกลไกให้
ประชาชนและทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้้า (3) การผลักดันกฎหมาย
แม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้้า (4) การปรับปรุงกฎ ระเบียบที่มีอยู่แล้ว และที่จะต้องมีเพิ่มเติมเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพการด้าเนินงานด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้้า (5) การจัดท้ายุทธศาสตร์บริหารจัดการ
ทรัพยากรน้้าเพื่อการแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคและเชิงพื้นที่ในมิติต่าง ๆ และ (6) การบริหารจัดการข้อมูล
และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของภาคประชาชน (ส้านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2558)
ทั้งนี้ นอกจากสภาปฏิรูปแห่งชาติที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้้าของไทยแล้ว ยังมี
หน่วยงานหรือภาคส่วนอื่น ๆ ที่มีความส้าคัญต่อการจัดสรรทรัพยากรน้้าของประเทศผ่านนโยบาย
กฎหมาย มาตรการหรือความเกี่ยวข้องอื่น ๆ ซึ่งได้แสดงความเชื่อมโยงและองค์ประกอบโดยรวมทั้ง
ประเทศดังแสดงในแผนภูมิที่ 4.1