Page 17 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 17

5



                                                            บทที่ 2



                                                    การทบทวนวรรณกรรม




                              สิทธิชุมชนในประเทศไทยแม้จะถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางดังเห็นได้จากผลงานวิจัยทาง

                       วิชาการต่าง ๆ ที่ต้องการสะท้อนบทบาทของชุมชนต่อสิทธิการคุ้มครองในมิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
                       ชุมชนภายใต้กฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ขณะเดียวกันการใช้สิทธิชุมชนใน

                       บางครั้งอาจน้าไปสู่ความขัดแย้งหรือข้อพิพาทในหลายรูปแบบซึ่งรวมไปถึงความขัดแย้งในการจัดการ

                       ทรัพยากรน้้าที่ประเทศไทยประสบปัญหาและสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินตลอดระยะเวลา
                       หลายสิบปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ชุมชนสามารถใช้สิทธิของตนในการจัดการทรัพยากรน้้าได้

                       อย่างเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับของคู่พิพาท การใช้หลักสันติวิธีจึงมีส่วนช่วยในการแก้ไขความ

                       ขัดแย้งดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้


                       2.1 แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิชุมชน


                              2.1.1 สิทธิชุมชนตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย: ค้า “สิทธิชุมชน”

                       (Community Right) เริ่มปรากฏครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

                       (มาตรา 46 และมาตรา 56) โดยได้บัญญัติรับรองสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมในการมีส่วนร่วมกับรัฐใน
                       การอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของ

                       ชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ บ้ารุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและ

                       สิ่งแวดล้อม (ชาติชาย วิริยะเจริญกิจ และสุรัสวดี แสนสุข, 2560) และต่อมาได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ
                       ดังกล่าวแล้วได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งได้บัญญัติสิทธิ

                       ชุมชนไว้ในหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชาวไทย ส่วนที่ 12 ว่าด้วยสิทธิชุมชน มาตรา 66

                       และมาตรา 67 โดยให้ความส้าคัญกับชุมชนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมต่อการจัดการทรัพยากร อนุรักษ์
                       บ้ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ สิทธิของ

                       บุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการคุ้มครอง รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การด้าเนินโครงการ

                       ต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงจะด้าเนินการไม่ได้ นอกจากจะมีการศึกษาและ
                       ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนที่จะมีการด้าเนินการ (ส้านักงานเลขาธิการ

                       สภาผู้แทนราษฎร, 2555) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญฯ ฉบับพุทธศักราช 2550 ได้ให้ความส้าคัญ
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22