Page 87 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 87
80
การกำหนดสถานะและสิทธิของบุคคลที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน เพื่อใช้ทดแทนหลักเกณฑ์เดิมที่
ยกเลิก
จากการประกาศโดยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ คือ
1) ให้สถานะคนต่างด้าวโดยชอบด้วยกฎหมาย (มีถิ่นที่อยู่ถาวร) ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่คณะรัฐมนตรีมี
มติรองรับสถานะให้อยู่ถาวรในราชอาณาจักรไทยและได้มีการจัดทำทะเบียนประวัติไว้แล้วตั้งแต่อดีต รวมถึง
บุคคลที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติ
คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 และบุคคลที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกันแต่ตกสำรวจ หรือไม่ได้รับการ
สำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติตามยุทธศาสตร์ฯ และนายทะเบียนได้จัดทำประวัติตามมาตรา 19/2 และ
มาตรา 38 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.
2551 และ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2562
2) ให้สถานะคนต่างต่างด้าวที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว ตาม
มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 แก่บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติอื่นที่ไม่มีคุณสมบัติ
เช่นเดียวกับบุคคลตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลและนายทะเบียนได้จัดทำ
ประวัติตามมาตรา 19/2 และ มาตรา 38 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ซึ่ง
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2551 และ (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2562 โดยบุคคลที่ขึ้นทะเบียนดังกล่าวจะเป็นผู้ไม่
มีสถานะทางทะเบียน มีชื่อในทะเบียนประวัติ ท.ร. 38 ก. มีเลขประชาชนประเภท 0 กลุ่ม 00 (สำหรับกลุ่ม
บุคคลที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราวจะต้องได้จัดทำทะเบียนประวัติและ
มีเลขประจำตัวประชาชนแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี) ซึ่งในทางปฏิบัติอาจทำให้เกิดความสับสนและเกิด
ข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานด้านสถานะบุคคล สัญชาติและสิทธิต่างๆ ที่จะได้รับตามกฎหมายหรือนโยบาย
ของรัฐบาลได้ เนื่องจากมีชื่อในทะเบียนประวัติ ท.ร. 38 ก. มีเลขประชาชนประเภท 0 กลุ่ม 00 เหมือนกัน
สำหรับแนวทางการแก้ไขเมื่อบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน ต้องทำการยื่นคำร้องหรือติดต่อขอ
ดำเนินการเรื่องสถานะบุคคลหรือสัญชาติ กรณีที่อ้างว่าตกหล่นหรือไม่ได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนตาม
ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล โดยให้นายทะเบียนหรือเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง
แนะนำให้บุคคลดังกล่าวยื่นคำร้องขอพิสูจน์และยืนยันคุณสมบัติตามที่กล่าวอ้าง และหากเป็นกรณีของชนกลุ่ม
น้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตกสำรวจ ให้นำพยานบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยหรือชาติพันธุ์เดียวกันหรือที่อพยพเข้า
มาในคราวเดียวกัน ซึ่งได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติไว้แล้วหรือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ได้รับใบสำคัญ
ถิ่นที่อยู่แล้วอย่างน้อย 3 คน มารับรองคุณสมบัติและยืนยันตัวบุคคล และหากนายทะเบียนอำเภอหรือนาย
ทะเบียนท้องถิ่นมีเหตุสงสัยของผู้ร้อง ก็อาจใช้กระบวนการของคณะกรรมการหมู่บ้านหรือคณะกรรมการ
ชุมชนแล้วแต่กรณี ตามแนวปฏิบัติเดียวกับการคืนสถานะทางทะเบียน(กรณีถูกจำหน่าย) หรือการขอแก้ไขกลุ่ม
(กรณีขึ้นทะเบียนผิดกลุ่ม/ผิดหลง)