Page 82 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 82

75


                 2.5 กลุ่มเชื้อสายมุสลิม     - เป็นกลุ่มที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน  และบางส่วนยังคงตกสำรวจ

                                             เนื่องจากความไม่ชัดเจนในเรื่องของที่มา ซึ่งอาจเคยอาศัยอยู่ใน
                                             ดินแดนที่เคยเป็นของไทยและอพยพโยกย้ายมาพร้อมพร้อมๆ กัน

                                             ส่วนใหญ่ถือบัตรบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน

                                             - ปัญหาทางด้านอคติทางชาติพันธุ์ โดยคนกลุ่มนี้มักถูกมองว่า
                                             หน้าตาไม่เหมือนคนไทย และทางกรมการปกครองถือว่าเป็นกลุ่มผู้

                                             หลบหนีเข้าเมืองจากประเทศพม่า


                 2.6 กลุ่มคนไร้รากเหง้า      - กรณีบุคคลไร้รากเหง้า พบมากในพื้นที่อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

                                             เป็นกลุ่มไม่มีสถานะทางทะเบียน
                                             - ปัญหาเกี่ยวกับพยานหลักฐาน บุคคลไร้รากเหง้าบางคนเป็นคน

                                             ไทยพลัดถิ่นแต่ถูกขึ้นทะเบียนเป็นคนไร้รากเหง้า โดยมีญาติพี่น้องได้

                                             บัตรสัญชาติไทยแล้ว และเมื่อไปยื่นขอแก้ไขกลุ่มทางอำเภอไม่
                                             สามารถดำเนินการให้ได้ หรือบุคคลไร้รากเหง้าบางคนไม่สามารถหา

                                             ญาติพี่น้องที่เป็นคนไทยได้
                                             - ปัญหาความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่และทำให้

                                             เกิดการบ่ายเบี่ยงของเจ้าหน้าที่รัฐในการไม่รับคำร้อง

                                             - ปัญหาเกี่ยวกับการอ่านเขียนภาษาไทย เนื่องจากชาวบ้านส่วน
                                             ใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ แต่สามารถพูดและสื่อสารภาษาไทยได้ มี

                                             เพียงลูกหลานเท่านั้นที่พอจะอ่านและเขียนภาษาไทยได้ถูกต้อง จึง

                                             ทำให้การติดต่อกับทางหน่วยงานราชการค่อนข้างลำบาก


                       จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ในทางปฏิบัติการยื่นขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นนั้น จะมีความ

               ละเอียดและความซับซ้อนของปัญหาแตกต่างกันไป ตามสถานะของบุคคลและพยานหลักฐาน อีกทั้งคนไทย

               พลัดถิ่นส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ จึงทำให้การจัดเตรียมเอกสารต่างๆ และการยื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่เป็นไป

               ค่อนข้างลำบากต่อการทำความเข้าใจในแต่ละขั้นตอน ซึ่งจากการแบ่งสิทธิการยื่นคำขอรับรองความเป็นคน
               ไทยพลัดถิ่น ทั้งผู้ที่มีสิทธิและไม่มีสิทธิยื่นตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 กล่าวได้ว่าปัญหา

               หลักของผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นที่จะต้องเผชิญ คือการที่หน่วยงานในท้องที่ไม่

               สามารถดำเนินการตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมายได้ ด้วยปัจจัยขององค์กรและขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่

               ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาของผู้ปฏิบัติงาน เช่น บุคลากรที่ไม่เพียงพอ การโยกย้ายตำแหน่ง


               ปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 มกราคม 2548 ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไปตามเงื่อนไขที่
               กำหนด
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87