Page 91 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 91
84
ไม่ได้ จึงทำให้คนไทยพลัดถิ่นบ้านปากเตรียมทำมาหากินได้เพียงในชุมชนของตนเอง โดยส่วนใหญ่จะทำประมง
กับรับจ้างทั่วไป
- สิทธิด้านอื่นๆ คนไทยพลัดถิ่นบ้านปากเตรียมหลายคน ถูกจัดอยู่ในกลุ่มคนไร้รากเหง้าคือ คนที่ไม่
ปรากฏบุพการีหรือบุพการีทอดทิ้งตั้งแต่วัยเยาว์ซึ่งอาศัยอยู่ในราชอาณาจักร ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ สวัสดิการ
ใดๆของภาครัฐเลย ไม่ได้รับการช่วยเหลือเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนสถานะบุคคลจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ได้รับ
สิทธิในการปกป้องและคุ้มครองทางกฎหมายอีกทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐยังสนับสนุนให้ชาวบ้านจัดทำบัตรคนต่าง
ด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยที่ไม่ได้มีการให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของบัตร
ดังกล่าว ชาวบ้านจึงไม่ยอมรับบัตรนี้เพราะตนนั้นถือว่าเป็นคนไทย
3) สิทธิของคนไทยพลัดถิ่นหลังได้รับสัญชาติไทย
จากการลงพื้นที่ศึกษาของคณะผู้วิจัยถึงเรื่องสิทธิของคนไทยพลัดถิ่นภายหลังจากได้รับสัญชาติไทยนั้น
พบว่าหลังจากได้รับคืนสัญชาติแล้วนั้น คนไทยพลัดถิ่นมีสิทธิได้บัตรสวัสดิการคนจนบ้าง ได้รับบัตรสวัสดิการ
จากรัฐบ้าง แต่ในส่วนการทำงาน จะสมัครงานก็คือยังไม่มีสิทธิเพราะว่ายังขาดวุฒิการศึกษาเพราะที่ผ่านมาคน
ไทยพลัดถิ่นจำนวนมากไม่ได้รับสิทธิการศึกษา เมื่อไปสมัครงานบางแห่งถ้าไม่มีวุฒิการศึกษาก็ไม่รับเข้าทำงาน
จึงยังคงเป็นปัญหาเรื่องการทำงานของคนไทยพลัดถิ่น รวมถึงปัญหาในเรื่องของความไม่เข้าใจในการติดต่อ
หน่วยงานราชการเพื่อที่จะให้ตนได้รับสิทธิ สวัสดิการทางภาครัฐเพื่อความเท่าเทียมกับประชาชนของรัฐ
โดยทั่วไป คนไทยพลัดถิ่นที่ได้รับคืนสัญชาติยังขาดความรู้ความเข้าใจในการติดต่อกับหน่วยงานราชการ จึง
ส่งผลให้ขาดสิทธิบางประการที่ควรจะได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวของคนไทยพลัดถิ่นจากที่ได้รับคืนสัญชาติไปแล้ว
อยู่ที่การศึกษาและการทำความเข้าใจทั้งทางภาครัฐและตัวของคนไทยพลัดถิ่นเองเพื่อให้ได้สิทธิโดยเท่าเทียม
ในฐานะเป็นพลเมืองของรัฐ ดังนั้น จึงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นผลสืบเนื่องตั้งแต่ยังไม่ได้รับสัญชาติที่แก้ไข
ไม่ได้แม้ในภายหลังจะได้รับสัญชาติไทยแล้ว
4.2 ข้อค้นพบในกระบวนการขอคืนสัญชาติไทยของคนไทยพลัดถิ่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ในกระบวนการขอคืนสัญชาติไทยของคนไทยพลัดถิ่นตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.
2555 และกฎกระทรวงการพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น พ.ศ. 2555 แบ่งออกเป็น
การยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น และการยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงสถานะในเอกสารทาง
ทะเบียนราษฎรของคนไทยพลัดถิ่น โดยกระบวนการดังกล่าวมีแนวปฏิบัติในการดำเนินการดังนี้
4.2.1 การยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น
ในการยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นตามสภาพข้อเท็จจริง พบว่าแบ่งออกเป็น 2
รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นกรณีปกติ และรูปแบบที่ 2
การยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นกรณีไม่ปกติ