Page 90 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 90

83


               ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้ มีความรู้สึกกลัวในการติดต่อกับหน่วยงานราชการ ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ของ

               นายทุน เพื่อทำงานให้แก่นายทุน

                       - สิทธิการเดินทาง การออกนอกพื้นที่ของคนไทยพลัดถิ่นจังหวัดระนองยังคงต้องทำหนังสือเดินทาง

               ขออนุญาตออกนอกพื้นที่เช่นเดียวกับคนไทยพลัดถิ่นจังหวัดอื่น ๆ
                       - สิทธิในการทำงาน คนไทยพลัดถิ่นบ้านช้างแหกส่วนมากจะลำบาก ไม่มีงานที่ไหนรองรับ ไม่

               สามารถทำงานได้ เช่น บริษัทที่รับสมัครงานก็ต้องใช้เอกสาร จึงสร้างความยากลำบากต่อคนไทยพลัดถิ่น

               เพราะต้องแอบทำงานที่เขาจ้างนอกกฎหมายและค่าแรงจะถูกหักครึ่ง เช่น ค่าแรงวันละ 300 ก็จะได้แค่วันละ

               150 บาท หรือบางครั้งอาจไม่ได้รับค่าจ้าง โดนกดขี่ห่มเหงในเรื่องของการทำงาน ผู้จ้างบอกว่า “เป็นพม่าไม่

               ต้องเรียกร้องอะไรเยอะ แค่ได้อยู่ในประเทศก็พอแล้ว”
                       ส่วนคนไทยพลัดถิ่นในท่าเรือบางกล้วยนั้น ก็จะมีปัญหากับการทำงานส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของนายทุน

               ทำงานให้แก่นายทุน กู้หนี้ยืมสินจากนายทุน จึงไม่สามารถออกนอกพื้นที่ไปทำงานที่อื่นได้เลย เพราะนายทุน

               จะไปแจ้งแก่ผู้ใหญ่บ้านว่าห้ามอนุญาตให้คนไทยพลัดถิ่นที่ยังค้างหนี้ออกนอกพื้นที่ ชาวบ้านจะต้องชดใช้หนี้จน

               หมดจึงสามารถออกนอกพื้นที่ได้

                       - สิทธิด้านอื่นๆ คนไทยพลัดถิ่นในจังหวัดระนองถูกจำกัดสิทธิต่าง ๆ ถูกเหยียดหยาม ถูกขับไล่จาก

               คนไทยในพื้นที่ ขาดการเข้าถึงการศึกษา สิทธิในการรักษาพยาบาลชาวบ้านท่าเรือบางกล้วยให้ข้อมูลว่าเกิด
               ปัญหาเรื่องการทำคลอดต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเกือบหนึ่งแสนบาท อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐยังสนับสนุนให้

               ยอมรับบัตรเลข 8 ซึ่งเป็นบัตรคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือ ผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัว

               คนต่างด้าว ซึ่งชาวบ้านไม่ยอมรับบัตรนี้เพราะตนนั้นถือว่าเป็นคนไทย

                       4. จังหวัดพังงา

                       - สิทธิที่อยู่อาศัย เหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 ทำให้ชุมชนบ้านปากเตรียม อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

               ไม่สามารถอยู่อาศัยในที่เดิมได้ เพราะชุมชนหายไปกับคลื่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และโครงการ
               ปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนไทได้จัดเตรียมที่ดินให้ชาวบ้านได้ย้ายมาสร้างที่อยู่ใหม่ในปัจจุบัน

               และเป็นชุมชนที่ผสมผสานระหว่างคนไทยและคนไทยพลัดถิ่น

                       - สิทธิการเดินทาง การออกนอกพื้นที่ของคนไทยพลัดถิ่นบ้านปากเตรียมยังคงต้องทำหนังสือเดินทาง

               ขออนุญาตออกนอกพื้นที่เช่นเดียวกับคนไทยพลัดถิ่นจังหวัดอื่น ๆ การเดินทางกรณีฉุกเฉินสร้างความ

               ยากลำบากให้แก่คนไทยพลัดถิ่นเพราะมีด่านตรวจเจ้าหน้าที่จำนวนมากในเขตรอยต่อระหว่างจังหวัด
                       - สิทธิในการทำงาน คนไทยพลัดถิ่นบ้านปากเตรียมส่วนใหญ่ไม่มีความมั่นคงในการทำงานเพราะถูก

               จัดอยู่ในกลุ่มคนไร้รากเหง้า ไม่ได้ขึ้นทะเบียนคนไทยพลัดถิ่นซึ่งตอนสำรวจคือไม่มีสถานะทางทะเบียน เมื่อไป

               ยื่นขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น เพื่อขอคืนสัญชาติ กลับกลายเป็นถูกจัดประเภทให้เป็นคนไร้รากเหง้า

               เมื่อไปยื่นขอแก้กลุ่มว่าไม่ใช่คนไร้รากเหง้าแต่ยืนยันตนว่าเป็นคนไทยพลัดถิ่น เจ้าหน้าที่ได้ให้คำตอบว่าแก้
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95