Page 85 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 85

78


                                   กรณีตัวอย่าง


                                 กรณีผิดกลุ่มของชาวบ้านที่จังหวัดระนอง “นายหนึ่ง (นามสมมุติ) ในขณะที่ดำเนินการ

                                 สำรวจในปี 2549-2550 ผู้บันทึกข้อมูลใส่สัญชาติพม่าโดยที่เจ้าตัวไม่ได้รู้เห็นและไม่รู้ตัว
                                 ทำให้ต้องมานั่งแก้กลุ่มอีก 10 ปี หรือ 20 ปี เพราะเจ้าหน้าที่อ้างตลอดว่าเจ้าหน้าที่ไม่

                                 เพียงพอบ้าง ทำตามขั้นตอนบ้าง ต้องทำตามคิวบ้าง ทำให้เจ้าตัวเกิดความเครียดทั้งเรื่อง

                                 เอกสาร ต้องเรียกญาติมา มีค่าใช้จ่าย ค่าน้ำมันรถ หรือบางคนต้องนั่งเรือเพราะอยู่เกาะ

                                 และคนไทยพลัดถิ่นส่วนใหญ่จะลำบากไม่มีงานที่ไหนรองรับเพราะไม่มีเอกสาร ทำให้

                                 ต้องแอบทำงานที่เขาจ้างนอกกฎหมายและค่าแรงก็จะถูกหักครึ่งหนึ่ง เหมือนค่าแรงวัน

                                 ละ 300 บาทเราก็จะได้วันละ 150 บาท หรือบางครั้งทำงานเพื่อนก็เรียกว่าเป็นพม่าก็ไม่

                                 ต้องเรียกร้องอะไรเยอะ แค่ได้อยู่ในประเทศไทยก็พอแล้ว หรือกรณีเด็กติด G หากใน
                                 อนาคตจะยื่นขอสัญชาติไทยตามพ่อที่มีเชื้อสายไทย (ปัจจุบันยังไม่ได้บัตรประชาชน)

                                 จะต้องยื่นแก้ไขกลุ่มก่อนและต้องรอระยะเวลาอีก 5- 10 ปี ”
                                                                                   92
                                 กรณีของชาวบ้านที่จังหวัดพังงา “ฟาตีมะ (นามสมมุติ) ตนเองไร้สัญชาติ ทำอะไรไม่ได้

                                 เลย เขาบอกว่าให้ไปแก้กลุ่มไร้รากเหง้าก่อน ให้นำญาติพี่น้องที่ได้หน้าแปด(บัตร

                                 ประชาชนที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8) ได้สัญชาติไทยแล้วมายืนยันหรือมาค้ำเรา เมื่อนำไปแล้ว
                                 เขาก็บอกว่าใช้ไม่ได้ ตัวฉันเองมีพี่สาว มีหลาน นำไปให้ครบหมดทุกอย่างเลย พอเอาไป

                                 แล้วเขาก็บอกว่ายื่นเรื่องไม่ได้บ้าง แก้ไม่ได้บ้าง เนื่องจากอยู่ในกลุ่มไร้รากเหง้ามันเปลี่ยน

                                                        93
                                 สัญชาติไม่ได้ทำอะไรไม่ได้”
                              2)  การขอคืนสถานะทางทะเบียน

                                     ในการขอคืนสถานะทางทะเบียนของคนไทยพลัดถิ่นนี้ พบว่าคนไทยพลัดถิ่นบาง

                                 พื้นที่ยังขาดองค์ความรู้และไม่เข้าใจถึงกระบวนการทางกฎหมายที่จะต้องดำเนินการคืน
                                 สถานะทางทะเบียนก่อน จึงจะมีสิทธิยื่นขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นและปล่อยให้

                                 เวลาล่วงเลยมาหลายปี ซึ่งการขอแก้ไขกรณีถูกจำหน่ายจะต้องยื่นเรื่องต่อเจ้าหน้าที่ใน

                                 ท้องที่และนำพยานบุคคลที่มีชาติพันธุ์เดียวกันและญาติที่เป็นคนไทยมายืนยันต่อ

                                 เจ้าหน้าที่ โดยมีผู้ใหญ่บ้านรับรอง ทางอำเภอก็จะดำเนินการคืนสถานะทางทะเบียนให้

                                 (ภาษาที่ชาวบ้านเข้าใจคือ “ปลดล๊อค”) ซึ่งบางกรณีใช้เวลานานหลายปีกว่าจะขอคืน

                                 สถานะทางทะเบียนและยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นได้ ในขณะที่
                                 พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำเสนอต่อเจ้าหน้าที่ในท้องที่นั้นเหมือนกัน ซึ่งทำให้คน



               92  สัมภาษณ์ตัวแทนคนไทยพลัดถิ่น, หมู่บ้านช้างแหก อำเภอเมือง จังหวัดระนอง, วันที่ 15 ธันวาคม 2564 .
               93  สัมภาษณ์ตัวแทนคนไทยพลัดถิ่น, หมู่บ้านเตรียม อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา, วันที่ 17 ธันวาคม 2564 .
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90