Page 84 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 84

77


                              นอกจากพยานที่มีสัญชาติไทย  อีกทั้งกรณีพยานที่เป็นญาติซึ่งเป็นคนไทยรับรอง เกิดปัญหา

                              ว่าญาติไม่กล้ามารับรอง เนื่องจากการมีญาติเป็นคนต่างด้าวเป็นความน่าอับอาย”

                              นอกจากนี้ในการใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานตัวแทนคนไทยพลัดถิ่นยังสะท้อนให้เห็น

                              ถึงการใช้ดลพินิจโดยพิจารณาถึงกายภาพภายนอก เช่น “ปัญหาที่ไม่ได้สัญชาติเนื่องจาก
                              หน้าตาที่ไม่เหมือนคนไทยคือ เรื่องสถานที่เกิดผมเกิดที่จังหวัดนราธิวาส ทางสำนักงานสภา

                              ความมั่นคงแห่งชาติ (สภาความมั่นคงแห่งชาติ) และฝ่ายปกครอง ก็ตีความว่าเป็นเชื้อสาย

                              มลายูและอีกเรื่องแม่ผมเป็นคนไทย แต่เนื่องจากอนุมัติล่าช้า ตอนนี้แม่ผมเสียชีวิตแล้วมัน

                              เป็นการยากที่จะยืนยัน” รวมถึงปัญหาการดำเนินการติดต่อกับหน่วยงานราชการ ในบาง

                              พื้นที่ชาวบ้านยังมีทัศนคติในทางลบและกลัวกับการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ เช่น
                              “หน่วยงานราชการเก็บเอกสารของชาวบ้านดองไว้ 8 ปี ทำไมไม่ชี้แจงว่าขัดข้องตรงไหน

                              อยากให้ชี้แจงเราพร้อมเหตุผลว่าติดขัดตรงไหนอย่างไร”

                              “ชาวบ้านบางคนไม่กล้าเข้าไปที่อำเภอแล้ว ไม่รู้ว่ากลัวอะไร ถ้าจะเข้าอำเภอคือ มีหนังสือ

                              เชิญแต่ก็ต้องมีคนพาไปการเดินทางก็มีค่าใช้จ่าย จะไปปรึกษาพูดคุยก็ไม่กล้าไปถาม อยากให้

                              เจ้าหน้าที่แนะนำชาวบ้านดี ๆ อีกทั้งการเดินทางเพื่อไปให้ข้อมูลในแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูง

                              อยากให้เห็นใจชาวบ้าน”
                       อย่างไรก็ดี นอกจากกลุ่มที่มีสิทธิยื่นคำขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นตามข้างต้นทาง

               คณะผู้วิจัยพบว่ากลุ่มที่มีสิทธิยื่นคำขอในกรณีที่มีการขึ้นทะเบียนผิดกลุ่มและกลุ่มที่ถูกจำหน่าย ยังคงสามารถ

               ยื่นคำขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นได้ แต่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดให้ถูกต้อง โดยการ

               ดำเนินการแก้ไขสิทธิให้สามารถยื่นขอคืนสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555  ซึ่ง

               ส่งผลให้การดำเนินล่าช้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องผ่านการพิจารณาถึง 2 ชั้น กล่าวคือ


                              1)  การขอเปลี่ยนแปลงกลุ่ม
                                     เป็นกรณีการแก้ไขกลุ่ม เช่น จากกลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติ

                                 พม่าเชื้อสายไทย หรือแก้ไขจากกลุ่มชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็น

                                 เวลานานเป็นคนไร้รากเหง้า ในการขึ้นทะเบียนผิดกลุ่มนี้ พบว่าคนไทยพลัดถิ่นจะต้อง

                                 ดำเนินการติดต่อหน่วยงานในท้องที่ และยื่นคำร้องขอเปลี่ยนกลุ่มเพื่อให้ตนเองได้กลับ

                                 เข้ามาอยู่ในกลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทยก่อนและยื่นคำขอพิสูจน์และรับรอง

                                 ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นได้ ในขณะที่พยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่นำเสนอต่อ
                                 เจ้าหน้าที่ในท้องที่นั้นเหมือนกัน ซึ่งทำให้คนไทยพลัดถิ่นและเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการ

                                 สอบปากคำถึงสองรอบ ( รอบแรกขอเปลี่ยนกลุ่ม และรอบที่สองขอรับรองความเป็นคน

                                 ไทยพลัดถิ่น)
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89