Page 83 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 83
76
ระยะเวลาในการสอบปากคำพยานระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ยื่นคำขอและพยานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถดำเนินการ
ได้อย่างรวดเร็ว และปัญหาที่เกิดจากตัวของคนไทยพลัดถิ่น เช่น ภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าตรวจ DNA
การนำพยานบุคคลมาไม่ได้ นอกจากนี้สถานการณ์ โควิดยังส่งผลให้การดำเนินการติดต่อราชการล่าช้าเพิ่ม
มากขึ้น ดังกรณีตัวอย่าง
กรณีของคนไทยพลัดถิ่นที่อาศัยอยู่ในพื้นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ “เคยได้รับแจ้งจากทาง
อำเภอให้ไปยื่นคำร้องขอพิสูจน์และรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น และถูกเลื่อนนัด หรือ
ปลัดย้าย หรือให้รอไปก่อนเนื่องจากสถานการณ์โควิด หรือบางคนได้ยื่นคำขอไปแล้วแต่ไม่มี
หนังสืออะไรติดต่อมาเลย และเมื่อไปติดต่อสอบถามทางเจ้าหน้าที่ก็มักจะพูดว่า จะติดต่อ
กลับมาเองและถ้ามาติดต่อมากเกินไปก็จะถูกพูดว่าจะคัดออกไปอยู่ทะเบียนกลาง”
89
หรือ กรณีคนไทยพลัดถิ่นที่ท่าเรือบางกล้วยจังหวัดระนองที่มีข้อเท็จจริงคือ “พ่อมี
บัตรประชาชนและได้สัญชาติไทยแล้ว แต่ลูกทั้งสองคนไม่ได้ตรวจ DNA และด้วยเศรษฐกิจ
มันไม่ดี เราก็ไปตรวจเองไม่ได้และมีคนในชุมชนนี้เคยแจ้งที่อำเภอจะขอตรวจ DNA ฟรีก็
ไม่ได้ เพราะขาดโอกาสจากอำเภอ แต่พอไปถามอำเภอก็โยนหน้าที่ให้ฝ่ายอื่นว่าทำไมไม่ส่ง
รายชื่อลูกให้เขาตรวจ DNA ฟรี เพราะว่าน้องบางคนเขาเรียนอยู่และอีกคนทำงานอยู่ จะไป
ทำงานข้างนอกก็ไปไม่ได้เลยเพราะขาดโอกาสจากตรงนี้ สิทธิจากรัฐบาลที่เยียวยาน้องเขาก็
หมดสิทธิที่จะได้รับ”
90
หรือ กรณีปัญหาด้านพยานหลักฐาน ตัวแทนเครือข่ายแก้ปัญหาการคืนสัญชาติคนไทย (คน
91
ไทยพลัดถิ่น) ได้สะท้อนปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการยื่นคำขอ ดังนี้
“กรณีพยานที่เป็นญาติที่มีสัญชาติไทย ปัญหาคือกระบวนการพิสูจน์ล่วงเลยมาเป็น
10 ปี ทำให้พยานเสียชีวิตก่อน เนื่องจากพยานส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งมีบรรทัดฐาน
อยู่ว่าส่วนใหญ่พยานที่หน่วยงานรัฐรับฟัง คือพยานที่มีอายุมากกว่าอายุน้อยกว่าไม่รับ ไม่
แน่ใจว่าช่วงที่โควิดระบาด จะเหลือพยานอยู่หรือไม่ ดังนั้นเราต้องหาวิธีการอื่นในการพิสูจน์
89 เวทีประชุมเชิงปฏิบัติติการกลุ่มผู้มีสิทธิยื่น กลุ่มผิดหลง ถูกจำหน่าย รอบันทึกรายการ เด็กนักเรียน กลุ่ม 7 ทวิวรรคสอง
และตกสำรวจ, วันที่ 17-20 ธันวาคม 2564 , เกาะหลัก รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเครือข่ายแก้ปัญหา
คืนสัญชาติไทยจังหวัดพังงา ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์.
90 สัมภาษณ์ตัวแทนคนไทยพลัดถิ่น,หมู่บ้านท่าเรือบางกล้วย ตำบลนาเครือ จังหวัดระนอง, วันที่ 16 ธันวาคม 2564.
91 ตัวแทนเครือข่ายแก้ปัญหาการคืนสัญชาติคนไทย (คนไทยพลัดถิ่น) ในการประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความเห็นและ
ข้อเสนอแนะ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติ
สัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 – 16.00
น. ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ห้องสัมมนาชั้น 6.