Page 88 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 88

81


                       ตามแนวปฏิบัติดังกล่าว จากข้อเท็จจริงพบว่ากลุ่มบุคคลตกสำรวจ อาจมีทั้งที่เป็นคนไทยพลัดถิ่นและ

               ไม่ใช่คนไทยพลัดถิ่น จึงทำให้แนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐ ไม่สามารถตอบสนองต่อปัญหาของบุคคลได้

               ทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มของคนไทยพลัดถิ่นที่ตกหล่นจากการสำรวจ  ซึ่งต้องการจะใช้สิทธิขอคืนสัญชาติไทย

               ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เนื่องจากต้องมีคุณสมบัติของ “ผู้มีเชื้อสายไทย” การขึ้น
               ทะเบียนเป็นบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564  จึงไม่ตอบโจทย์

               ต่อการแก้ไขปัญหาในการขอคืนสัญชาติของคนไทยพลัดถิ่น เนื่องจากต้องดำเนินการแก้ไขกลุ่มอีกครั้งใน

               ภายหลัง ส่งผลให้ระยะเวลาในการขอคืนสัญชาติไทยยาวนานเพิ่มมากขึ้น

                       4.1.3 บริบทและการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยพลัดถิ่นแยกตามพื้นที่ศึกษา

                       จากข้อมูลการลงพื้นที่ของคณะผู้วิจัยพบว่า การกลับมาอยู่อาศัยในประเทศไทยของคนไทยพลัดถิ่น

               บริเวณจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนองและพังงา นั้น คนไทยพลัดถิ่นไม่มีสัญชาติไทย ไม่มีบัตร

               ประชาชน ถูกจำกัดสิทธิทุกด้าน มีการกดดันจากเจ้าหน้าที่นำไปสู่การละเมิดสิทธิต่าง ๆ เมื่ออาศัยอยู่ในฐานะ
               ชนกลุ่มน้อย ขาดซึ่งสิทธิพลเมือง โดยสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

                       1. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                       - สิทธิที่อยู่อาศัย คนไทยพลัดถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บ้านไร่เครา ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.

               ประจวบคีรีขันธ์ ให้ข้อมูลว่าสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน หรือ ส.ป.ก.ประจวบคีรีขันธ์ เข้ามาสำรวจเพื่อออก

               หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ประเภทที่อยู่อาศัย หรือ ส.ป.ก.4-01 ให้ชาวบ้านที่อาศัย
               อยู่ที่ บ้านไร่เครา แต่ในขณะนั้น คนไทยพลัดถิ่นจำนวนมากยังเป็นคนไร้สัญชาติ จึงไม่มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ใน

               ที่ดิน ส.ป.ก เพราะกฎหมายกำหนดคุณสมบัติไว้ว่า ผู้ที่จะได้รับสิทธิต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น การออกหนังสือ

               อนุญาตให้ทำประโยชน์ในที่ดิน จึงถูกระงับไว้ก่อนจนกว่าจะมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด

                       ปัญหาที่ตามมาจากการไม่มีเอกสารหลักฐานในที่ดิน คือ ชาวบ้านไม่สามารถขอทะเบียนบ้านเป็นของ

               ตัวเองได้ เพราะการออกทะเบียนบ้าน ต้องใช้เอกสารสิทธิที่ดินเป็นหลักฐาน

                       การไม่มีเอกสารสิทธิที่ดินยังส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมา เพราะเมื่อไม่มีทะเบียนบ้านจะไม่สามารถ

               ใช้ชื่อตัวเองขอมิเตอร์ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และไม่สามารถใช้ชื่อตัวเองเป็นผู้ใช้น้ำประปาได้ เพราะ
               การดำเนินการทั้งสองอย่างนี้ต้องใช้สำเนาทะเบียนบ้านเป็นหลักฐาน

                       ปัจจุบัน คนไทยพลัดถิ่นในบ้านไร่เคราได้สัญชาติไทยกันเกือบทั้งหมดแล้ว แต่ส่วนใหญ่กลับยังไม่ได้รับ

               ส.ป.ก.4-01 ตามสิทธิที่พวกเขาควรได้

                       - สิทธิการเดินทาง ในช่วงแรกที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทย คนไทยพลัดถิ่นยังมีสถานะเป็นบุคคลไร้

               สัญชาติ ไม่สามารถเดินทางออกนอกพื้นที่ที่รัฐไทยกำหนด จึงต้องอาศัยพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านซึ่งอยู่
               ใกล้กับแนวชายแดนเป็นที่พักอาศัย ปัจจุบันคนไทยพลัดถิ่นที่ไม่ได้รับสัญชาติยังคงถูกจำกัดไม่มีสิทธิเดินทาง

               ออกนอกพื้นที่ ซึ่งถ้ามีเหตุจำเป็นจะต้องขออนุญาตจากผู้นำชุมชน
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93