Page 69 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 69

62


               3.3 วิธีการวิจัย

                       ในการศึกษาโครงการจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการ

               ปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

               คณะผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ลักษณะคือ
                       3.3.1 การศึกษาจากเอกสาร (Documentary Research)

                       ศึกษารวบรวมจากเอกสารทางวิชาการ ผลงานวิจัย บทความ วิทยานิพนธ์ กฎหมายภายในประเทศ

               ได้แก่ เช่น พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องคำขอพิสูจน์ความเป็นคน

               ไทยพลัดถิ่น ใบรับรองและหนังสือรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่น เป็นต้น กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึง

               เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของงานวิจัยฉบับนี้

                       3.3.2 การศึกษาข้อมูลภาคสนาม  (Field Research)

                       1) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) โดยการสัมภาษณ์ครอบคลุม

                       กลุ่มเป้าหมาย เพื่อปรับใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ นำมารวบรวมและวิเคราะห์ประกอบกับข้อมูล

               ภาคสนาม ได้แก่
                              กลุ่มที่ 1 กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น ได้แก่ กลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่ยังไม่รับการคืนสัญชาติไทย อัน

                       ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอพิสูจน์และการรับรองความเป็นคนไทย พลัดถิ่น กลุ่มบันทึก

                       ผิดหลง กลุ่มถูกจำหน่าย กลุ่มรอบันทึกรายการ กลุ่มเด็กนักเรียน กลุ่มตามมาตรา 7 ทวิวรรคสอง

                       กลุ่มตกสำรวจ ดังนี้

                              - ตัวแทนคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ ชุมชนคลองลอย ชุมชนไร่เครา

                       อำเภอเมือง กลุ่มบางสะพาน อำเภอบางสะพาน กลุ่มทับสะแก อำเภอทับสะแก

                              - ตัวแทนคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่จังหวัดระนอง ได้แก่ ชุมชนหินช้าง ชุมชนช้างแหก อำเภอ
                       เมือง ชุมชนท่าเรือบางกล้วย อำเภอสุขสำราญ

                              - ตัวแทนคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้แก่ ชุมชนบ้านท่ามะปลิง อำเภอเมือง

                       ชุมชนบ้านบางเกตุ (กลุ่มท่าแซะ) อำเภอท่าแซะ

                              - ตัวแทนคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่จังหวัดพังงา ได้แก่ ชุมชนปากเตรียม อำเภอคุระบุรี

                        กลุ่มที่ 2 หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นทั้งระดับปฏิบัติและนโยบาย
                              2.1) ส่วนราชการในระดับนโยบายกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้แก่ อธิบดีหรือ

                       รองอธิบดี ผู้อำนวยการสำนักบริการการทะเบียน เลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

                              2.2) ส่วนราชการในระดับจังหวัด ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด/รองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ

                       บุคคลซึ่งได้รับมอบหมาย ปลัดจังหวัดซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบด้านคนไทยพลัดถิ่น
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74