Page 22 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 22
22 สำ�นักงานคณะกรรมการสำิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
จะต้องระบุเหตุผลด้วย และผู้ขออาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสารต่อไปได้ นอกจากนั้น ยังมีกฎหมายเฉพาะเรื่องที่ก�าหนดสิทธิของประชาชน
๗
ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร อาทิ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐
๘
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๓๕
รวมถึงระเบียบส�านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
พุทธศักราช ๒๕๔๘ ซึ่งถือเป็นหลักเกณฑ์กลางในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ต่อการด�าเนินการหรือการอนุญาตให้ด�าเนินการโดยรัฐ ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติ
วิธีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไว้เป็นการเฉพาะ ระเบียบนี้ก�าหนดไว้ว่าก่อน
เริ่มด�าเนินการโครงการของรัฐ หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบโครงการต้องจัดให้มี
การเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนทราบ ๙
ประเด็นตัวอย่างจำากรายงานการตรวจำสอบ
ที่ผ่านมา กสม. ได้จัดท�ารายงานผลการตรวจสอบและชี้ให้เห็นถึง
ข้อบกพร่องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หลายกรณีเป็นเรื่องที่ผู้ด�าเนินโครงการ
ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการด�าเนินกิจการอย่างถูกต้อง
และครบถ้วนให้ประชาชนได้รับทราบ หรือไม่ได้มีการชี้แจงเหตุผลของ
การด�าเนินโครงการให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทราบก่อนการจัดให้มี
การรับฟังความคิดเห็น (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๘๑๕-๘๑๘/๒๕๖๐ และ
ที่ ๘๙๒/๒๕๖๐)
๗ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๑
๘ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๓๕ มาตรา ๖ (๑)
๙ ระเบียบส�านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนฯ ข้อ ๕