Page 25 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 25
สิทธิชุมชน กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 25
สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นตัวอย่างจำากรายงานการตรวจำสอบ
ที่ผ่านมา กสม. ได้จัดท�ารายงานผลการตรวจสอบ และชี้ให้เห็นประเด็น
ข้อบกพร่องในการรับฟังความคิดเห็นที่น่าสนใจ อาทิ
(๑) การก�าหนดกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเข้าร่วมกระบวนการรับฟัง
ความคิดเห็น ที่ไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น
• โครงการก่อสร้างคลังเก็บก๊าซและท่าเรือของคลังก๊าซที่รับฟัง
ความคิดเห็นโดยการแจกแบบสอบถาม ภายในรัศมี ๕๐๐ เมตร มีกลุ่มตัวอย่าง
๒๘๐ คน ซึ่งไม่น่าเพียงพอและไม่ควรถือว่าเป็นการจัดท�าประชาคม (รายงาน
ผลการตรวจสอบที่ ๑๕๗/๒๕๕๙)
• กรณีโครงการก่อสร้างทางเลียบแม่น�้าเจ้าพระยา ที่มิได้รับฟังความ
คิดเห็นของผู้ใช้ประโยชน์ตลอดทั้งต้นน�้าถึงปลายน�้า (รายงานผลการตรวจสอบ
ที่ ๘๙๒/๒๕๖๐)
• กรณีการจัดประชาคมที่ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ
และพนักงานของบริษัท โดยมิได้มีประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ตั้งและ
กลุ่มประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ หรือผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมประชุม (รายงาน
ผลการตรวจสอบที่ ๘๔๒/๒๕๖๐)
(๒) การแจ้งเชิญประชุมอย่างกระชั้นชิด ท�าให้ผู้มีส่วนได้เสียไม่สามารถ
เตรียมการศึกษาข้อมูลเพื่อการแสดงความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะได้ทันเวลา
หรือมีประสิทธิภาพ เช่น
• กรณีการจัดประชาคม โดยการท�าหนังสือเชิญประชุมก่อน
การประชุมเพียง ๒ วัน (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๑๕๗/๒๕๕๙)
• การส่งหนังสือเชิญเข้าร่วมการประชุมในระยะเวลากระชั้นชิดมาก
เช่น จัดประชุมวันที่ ๒๕ มีนาคม แต่ส่งหนังสือวันที่ ๒๑ และ ๒๔ มีนาคม
ท�าให้ผู้มีส่วนได้เสียไม่สามารถเตรียมข้อมูลเพื่อไปแสดงความคิดเห็นได้ รวมถึง
บางคนได้หนังสือเชิญหลังจากวันประชุมแล้ว ท�าให้ไม่สามารถเข้าร่วมประชุม
รับฟังความคิดเห็นได้ทัน (รายงานผลการตรวจสอบที่ ๘๑๕-๘๑๘/๒๕๖๐)
(๓) การก�าหนดระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็นไม่เหมาะสม เช่น
การประชุมรับฟังความคิดเห็นในขั้นตอนการจัดท�ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
ด้านสิ่งแวดล้อม กรณีที่เป็นโครงการขนาดใหญ่และมีผู้เข้าร่วมประชุมจ�านวน