Page 20 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 20
20 สำ�นักงานคณะกรรมการสำิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๓) คณะรัฐมนตรีพิจารณาความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดิน และสั่งการตามที่
เห็นสมควร เมื่อคณะรัฐมนตรีสั่งการเป็นประการใด ให้แจ้งให้บุคคล หรือชุมชนดังกล่าวทราบ
๔) ถ้าบุคคลหรือชุมชนดังกล่าวเห็นว่าข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรียังไม่ถูกต้อง
ครบถ้วน ตามรัฐธรรมนูญ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ อาจยื่นค�าร้อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
วินิจฉัยได้ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากคณะรัฐมนตรี
๕) ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน ๑๒๐ วันนับแต่วันที่
ได้รับค�าร้อง
การมีส่วนร่วมในฐานะสิทธิเชิงกระบวนการของหลักการสิทธิชุมชน
หลักการที่ ๑๐ ของปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ค.ศ. ๑๙๙๒
และอนุสัญญาคณะกรรมการเศรษฐกิจยุโรปแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูล
ข่าวสาร การมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการตัดสินใจ และการเข้าถึงกระบวนการ
ยุติธรรมในเรื่องสิ่งแวดล้อม ค.ศ. ๑๙๙๘ ก�าหนด “หลักการการมีส่วนร่วมในด้าน
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ๓ ประการ ได้แก่ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล
ข่าวสาร สิทธิในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
และกฎหมายต่าง ๆ ของประเทศไทย รับรองหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้าน
สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาไว้หลายประการ กล่าวโดยสรุปดังนี้
๑) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
หลักการการมีส่วนร่วม
ในด้านการจำัดการ ๒) สิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน
ทรัพยากรธรรมชาติ ในการตัดสินใจำ
และสิ่งแวดล้อม
๓) สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
และการเยียวยา