Page 17 - แนวปฏิบัติเพื่อการจัดการร่วมประเด็นสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
P. 17
สิทธิชุมชน กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 17
สิ่งแวดล้อม และการพัฒนารวมถึงสิทธิอื่นที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๕๗ (๒) เป็นเรื่องที่รัฐต้องให้ “ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น” มีส่วนร่วม
ในการอนุรักษ์ คุ้มครอง บ�ารุงรักษา ฟื้นฟู บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ และได้รับ
ประโยชน์จากการด�าเนินการดังกล่าว
ส่วนมาตรา ๕๘ เป็นเรื่องที่รัฐต้อง “ด�าเนินการให้มีการศึกษาและประเมิน
ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มี
การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน
การด�าเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดด�าเนินการ” ถ้าการนั้นอาจมีผลกระทบ
ต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสีย
ส�าคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง เพื่อน�ามาประกอบ
การพิจารณาด�าเนินการหรืออนุญาตต่อไป
โดยในทางปฏิบัติปัจจุบันเกี่ยวกับการด�าเนินการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
และสุขภาพเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งยังคงถูกวิจารณ์ว่ามีเนื้อหา
ที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติตามมาตรา ๕๘ ของรัฐธรรมนูญและไม่น�าไปสู่การปฏิรูป
โครงสร้างและระบบการศึกษาและประเมินผลกระทบที่ครอบคลุมทุกมิติ จึงควรมี
การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้มีการปฏิรูปโครงสร้างและระบบการศึกษาและประเมิน
ผลกระทบที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งมิติผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA) และมิติ
ผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) และที่ครอบคลุมทุกระดับ ทั้งระดับนโยบาย และระดับ
โครงการกิจกรรม โดยรวมถึงการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (CHIA)
และการประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) เพื่อให้ระบบดังกล่าวสะท้อนความ
เป็นจริงของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง และหลีกเลี่ยงการลิดรอนสิทธิชุมชน
ในหลาย ๆ ด้านอันน�าไปสู่ความขัดแย้งในสังคม ๓
๓ คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (๒๕๖๑). ความเชื่อมโยงระหว่างสิทธิชุมชนกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐.