Page 90 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 90

4.   การดำเนินธุรกิจอาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่รอบข้าง หรือก่อให้เกิดปัญหาทางด้าน

               สิ่งแวดล้อม ซึ่งถือได้ว่าเป็นทรัพยากรร่วมของสังคม ซึ่งจะมีความเกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชน สิทธิในที่ดินทำกิน
               และสิ่งแวดล้อม


                       5.   การดำเนินธุรกิจของต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย และการดำเนินธุรกิจของคนไทยที่ออกไป
               ลงทุนที่ต่างประเทศ อาจจะมีการเกี่ยวพันกับสิทธิของประชากรนอกอาณาเขตได้ ซึ่งในส่วนนี้จะหมายถึงสิทธิที่

               เกี่ยวข้องกับการลงทุนข้ามชาติ

                       6.   การดำเนินธุรกิจจะมีผู้ที่ได้รับสินค้าและบริการ ก็คือ ผู้บริโภค สิทธิของผู้บริโภคจะหมายรวมถึง

               การได้รับสินค้าและบริการที่เป็นธรรม และการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้อย่างเหมาะสม

                       7.   กลุ่มประชากรเปราะบางที่อาจจะถูกกระทบสิทธิได้หากไม่ได้มีมาตรการเฉพาะมาดูแล เช่น การ

               เลือกปฏิบัติทางเพศ การที่ภาครัฐไม่ได้จ้างผู้พิการในอัตราส่วนตามกฎหมาย ผลกระทบของการลงทุนต่อ

               ผู้สูงอายุ เป็นต้น

                       8.   กลุ่มสุดท้ายที่มีความเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ จะมีความเกี่ยวข้องใน

               ลักษณะของการเป็นตัวแทน (ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ๆ) เพื่อชี้เบาะแส ตลอดจนมีส่วนสนับสนุนให้
               กระบวนการเยียวยาเกิดขึ้นจริง ซึ่งในกลุ่มนี้จะสามารถแยกออกได้เป็น ผู้รายงานข้อมูล (Whistleblower) ซึ่ง

               เป็นผู้นำข้อมูลภายในองค์กรออกมาสู่สาธารณะ และผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการ
               ช่วยเหลือทางด้านสิทธิมนุษยชนโดยตรง เช่น การช่วยเหลือกลุ่มด้อยโอกาส เป็นต้น




               3.2  กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่มีอยู่ใน

               ปัจจุบัน

                       ในส่วนนี้จะเป็นการวิเคราะห์กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของ

               ภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยจะพิจารณาในภาพรวมซึ่งเป็นกลไกตามรัฐธรรมนูญ และกลไกแยกตามสิทธิ ซี่งมี

               รายละเอียดดังนี้



                       3.2.1 กลไกการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จึงเป็นกรอบ

               การคุ้มครองประชาชนไทยที่สำคัญมากที่สุด ซึ่งได้ให้แนวทางในการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนผ่าน

               บทบัญญัติตามมาตราที่ 25 และมาตราที่ 26 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้


                       มาตรา 25 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะใน

               รัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพ
               ที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพเช่นว่านั้นไม่


                                                            30
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95