Page 88 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 88
บทที่ 3
กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ
ของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ในบทนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานของภาครัฐในการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชน
และการประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินงานของ กสม. เพื่อชี้ให้เห็นสถานการณ์และผลกระทบ
ด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจากการค้าการลงทุนของประเทศ รวมไปถึงประสิทธิผลของเครื่องมือของรัฐในการ
สนับสนุนให้มีการปฏิบัติการตามหลักการ UNGP ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
3.1 ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ
ก่อนที่จะพิจารณาในประเด็นของสถานการณ์ที่เป็นอยู่ปัจจุบันจะต้องมีการพิจารณาเสียก่อนว่า
ประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจนั้น มีประเด็นอะไรที่มีความเกี่ยวข้อง
อยู่บ้าง ทั้งนี้ จากการสืบค้นวรรณกรรมของทั้งไทยและต่างประเทศ คณะผู้วิจัยไม่พบว่ามีการนิยามประเด็น
ด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจไว้อย่างครบถ้วนและชัดแจ้ง หากแต่มีการระบุเป็น
รายประเด็นในวรรณกรรม อาทิ เช่น ในเอกสารของ Australian Human Rights Commission (2016)
กล่าวถึงประเด็นการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ หรือมีการระบุเป็นกรณีศึกษาที่มี
การฟ้องร้องกับตัวธุรกิจ อาทิ เช่น การฟ้องร้องบริษัท Shell ในประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม (Business &
Human Rights Resoucre Centre, 2016) คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการสังเคราะห์ประเด็นที่มีความเกี่ยวข้อง โดย
เลือกเอาต้นแบบจากงานวิจัย “แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562” โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2560ข) ซึ่งได้มีการระบุถึง
สภาพแวดล้อมด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนไว้อย่างค่อนข้างจะครบถ้วน มาปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ผ่านการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์และการจัดทำการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น ซึ่งผลการ
สังเคราะห์ประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจมีรายละเอียดดังนี้ (แผนภาพที่
3-1)
ธุรกิจ หมายถึงองค์กร หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่าย การผลิตและการบริการ โดยมี
จุดมุ่งหมายที่ต้องการได้รับผลตอบแทน ธุรกิจในที่นี้จะหมายรวมถึงกิจการที่มีขนาดใหญ่ ขนาดปานกลาง และ
ขนาดเล็ก เป็นกิจการที่อาจจะอยู่ในหรือนอกตลาดหลักทรัพย์ มีสถานะเป็นบรรษัทข้ามชาติ หรือเป็นบริษัท
ของไทย และยังหมายรวมถึงรัฐวิสาหกิจ หรือ กิจการร่วมทุนระหว่างรัฐบาล และเอกชนอีกด้วย
28