Page 65 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 65

1.2   วัตถุประสงค์


                       1.2.1   เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ช่องว่างที่เกิดขึ้นของนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ ที่
               เกี่ยวกับการลงทุนของประเทศ ตามหลักการ UNGP ทั้งเสาหลักที่ 1 (protect) และเสาหลักที่ 3 (remedy)

               ว่านโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นอุปสรรคต่อภาคธุรกิจหรือเอื้อให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิ

               มนุษยชนหรือไม่

                       1.2.2   เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมให้การลงทุนของภาคธุรกิจ

               เคารพสิทธิมนุษยชน และเกิดการเยียวยาที่มีประสิทธิผลหากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น

                       1.2.3   เพื่อใช้สนับสนุนการทำงานตามกฎหมายของ กสม. ในการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน การเฝ้า
               ระวังสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และการเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิ

               มนุษยชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชน




               1.3   กรอบแนวคิด และระเบียบวิธีวิจัย


                       คณะผู้วิจัย ได้อาศัยกรอบแนวคิดของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations
               Human Rights Council หรือ UNHRC) (UN Human Rights Council, 2008) ซึ่งได้มีการวางกรอบแนวคิด

               ทางด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน บน 3 เสาหลัก ได้แก่

                       1. การป้องกัน (Protect) – ภาครัฐมีหน้าที่ในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยบุคคลที่สาม

                       2. การเคารพ (Respect) – ภาคธุรกิจมีหน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชน

                       3. การเยียวยา (Remedy) – การขยายขอบเขตการเข้าถึงให้ผู้ที่ถูกละเมิดทางด้านสิทธิมนุษยชน
               สามารถเข้าถึงกระบวนการเยียวยา ทั้งในรูปแบบที่ผ่านกระบวนการยุติธรรม และการดำเนินคดีในศาล และ

               รูปแบบที่อยู่นอกเหนือจากกระบวนการยุติธรรมทางศาล เช่น กระบวนการไกล่เกลี่ยนอกศาล

                       จากกรอบแนวคิดข้างต้น กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนของภาครัฐจะถูกจำกัดภายใต้

               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 247 (1) - (3) และพระราชบัญญัติประกอบ
               รัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 26 (1) - (3) ซึ่งได้กำหนดให้

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีหน้าที่และอำนาจในการตรวจสอบและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
               เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีโดยไม่ล่าช้า และเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางที่เหมาะสมในการ

               ป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิ

               มนุษยชนต่อหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง ทำให้กรอบดำเนินการของภาครัฐ จะมีความเกี่ยวข้องกับ
               เสาหลักที่ 1 (การป้องกัน) และเสาหลักที่ 3 (การเยียวยา) เป็นหลัก


                       ภายใต้กรอบ 2 เสาหลักข้างต้น งานวิจัยชิ้นนี้จะอาศัยการวิเคราะห์ช่องว่าง หรือ Gap analysis
               (แผนภาพที่ 1-1) เพื่อศึกษาว่ากลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของภาครัฐทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบ




                                                            5
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70