Page 64 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 64

ดังกล่าวแล้ว จากการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนพบว่า “ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนข้ามพรมแดน” มี

               แนวโน้มที่จะเกิดมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกรณีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย และกรณีบริษัทไทยไป
               ลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ปัจจุบันก็ยังไม่มีสนธิสัญญาระหว่างประเทศในการกำกับดูแลกรณีการประกอบธุรกิจ

               ข้ามพรมแดนที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด

                       ในส่วนของการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินโครงการทั้งของรัฐและ

               รัฐวิสาหกิจนั้น พบว่า การเยียวยามักเกิดขึ้นกับกรณีโครงการที่มีผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนกับประชาชน

               จำนวนมาก โดยการเยียวยามักเป็นผลจากกระบวนการยุติธรรม เช่น ผลจากคำพิพากษาของศาลซึ่งมักใช้
               ระยะเวลานาน เป็นภาระแก่ผู้ได้รับผลกระทบในการพิสูจน์ความเสียหาย และมักเกิดขึ้นในรูปแบบของการ

               เยียวยาด้านการเงิน เช่น กรณีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณเพื่อเยียวยาให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
               จากการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต (กรุงเทพธุรกิจ, 6 กันยายน 2559; เนชั่น, 21 กันยายน 2559) อย่างไรก็ดี

               ในบางกรณี ศาลก็ได้มีคำพิพากษาให้มีการเยียวยาในรูปแบบอื่นนอกเหนือจากการเยียวยาด้านการเงินด้วย

               เช่น กรณีที่ชาวบ้านคลิตี้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ที่ศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อมมีคำพิพากษาเมื่อ
               วันที่ 10 กันยายน 2560 ให้บริษัทคู่ความต้องฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ให้กลับมาใช้ได้ดังเดิมนอกเหนือจากการชดใช้

               ค่าเสียหาย จำนวน 36 ล้านบาท เป็นต้น (BBC THAI, 11 Sep 2017)

                       จากสถานการณ์ภาพรวมด้านการลงทุนข้างต้น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานที่เชื่อถือได้ที่จะ

               สามารถระบุถึงช่องว่างของนโยบาย กฎหมาย หรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศว่าเป็นไป
               ตามเสาหลักที่ 1 และเสาหลักที่ 3 ของหลักการ UNGP หรือไม่ อันจะเป็นประโยชน์ในการดำเนินการให้

               ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสามารถสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยเรื่องธุรกิจ

               และสิทธิมนุษยชนของประเทศ (National Action Plan on Business and Human Rights หรือ NAPs) ได้
               อีกด้วย


                       ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จึงเห็นควรให้มีโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง
               “การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National Baseline Assessment on

               Business and Human Rights) : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ” ขึ้น

               เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ช่องว่างที่เกิดขึ้นของนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการลงทุนของ
               ประเทศ ตามหลักการ UNGP ทั้งเสาหลักที่ 1 (protect) และเสาหลักที่ 3 (remedy) ว่านโยบาย กฎหมาย

               และมาตรการต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นอุปสรรคหรือเอื้อให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชน และจัดทำเป็น
               ข้อเสนอแนะ มาตรการ หรือแนวทางในการส่งเสริมให้การลงทุนของภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชนและมีการ

               เยียวยาที่มีประสิทธิผลหากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น ตลอดจนใช้สนับสนุนการทำงานตามกฎหมาย

               ของ กสม. ในการตรวจสอบ เรื่องร้องเรียน การเฝ้าระวังสถานการณ์สิทธิมนุษยชน และการเสนอแนะ
               มาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกับสิทธิ

               มนุษยชน





                                                            4
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69