Page 63 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 63

ต่างชาติผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นต้น จากนโยบายดังกล่าว รัฐบาลยังได้

               ดำเนินการปรับปรุงและออกกฎหมายต่าง ๆ หลายฉบับ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
               โดยส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่และอุตสาหกรรมเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ได้แก่ (1) พระราชบัญญัติ

               การส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 (2) พระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ

               ประเทศตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 (3) พระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. 2561 (4)
               พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2562 แก้ไขเพิ่มเติมจากปี 2522 นอกจากนี้

               ประเทศไทยยังมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนอีกหลายฉบับ   อาทิ พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า
               พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545

               พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติการให้เอกชน

               ร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติศุลกากร

               พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

                       การลงทุนแม้จะมีผลดีในแง่การขยายรายได้ทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน
               นโยบาย กฎหมาย หรือมาตรการของรัฐดังกล่าวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสิทธิมนุษยชนด้วย

               ตัวอย่างเช่น กรณีการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เช่น การออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษา
                                                                     4
               ความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 3/2559 ลงวันที่ 20 มกราคม 2559  ยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการผัง
               เมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษซึ่งเป็นผลให้มีการยกเว้นการ

               บังคับใช้กฎหมายผังเมืองครอบคลุมพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมด 10 จังหวัด หรือคำสั่งหัวหน้าคณะรักษา
               ความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 4/2559 ลงวันที่ 20 มกราคม 2559 ให้ยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับ

               ผังเมืองรวมสำหรับการประกอบกิจการบางประเภท โดยขยายให้ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองใน

               โรงงานบางประเภทเพิ่มขึ้น เช่น โรงไฟฟ้าขยะ โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงงานกำจัดขยะ เป็นต้น หรือกรณีการแก้ไข
               เพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบ

               แห่งชาติ ฉบับที่ 9/2559 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2559 การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษา
               คุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อยกเว้นโครงการด้านคมนาคมขนส่ง การสร้างเขื่อนและชลประทาน การป้องกันสา

               ธารณภัย โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัย สามารถจัดหาผู้รับเหมาเอกชนเพื่อดำเนินโครงการหรือกิจการได้ โดยไม่

               ต้องรอให้การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment หรือ EIA) ได้รับความ
               เห็นชอบก่อน โดยที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนอันเกิดจากการประกอบธุรกิจที่ไม่

               เคารพสิทธิมนุษยชน เช่น กรณีที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์
               (Trafficking In Persons หรือ TIP Report) ประจำปีพ.ศ. 2558 ซึ่งประเทศไทยถูกลดระดับลงให้อยู่ในระดับ

               ต่ำสุด คือ Tier 3 หรือกรณีการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของ

               ประชาชนในพื้นที่ และอาจจะมีการแพร่กระจายของสารพิษส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากปัญหา



               4  ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
               บางฉบับได้ถูกยกเลิกภายหลัง หากแต่ ทางคณะผู้วิจัยจะคงเนื้อหาส่วนนี้ไว้เพื่อแสดงถึงเหตุของการละเมิดที่เคยเกิดขึ้น
               รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู ภาคผนวก จ
                                                            3
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68