Page 62 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 62
โดยการประเมินข้อมูลพื้นฐานควรระบุให้ชัดเจนถึงมาตรการภายในประเทศของรัฐในการสนับสนุน
การปฏิบัติตาม UNGP ภายใต้เสาหลักที่ 1 และเสาหลักที่ 3 รวมทั้งช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตาม
หลักการ UNGP โดยระบุให้ชัดเจนว่า ภายใต้เสาหลักทั้งสองนั้นมีส่วนใดที่รัฐยังไม่มีมาตรการที่ใช้ในการ
ดำเนินการ หรือรัฐได้มีการกำหนดมาตรการขึ้นมาแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะต้องมีการทำการศึกษาวิจัย
เกี่ยวกับบทบัญญัติของกฎหมายในรัฐธรรมนูญ กฎหมายภายในประเทศ ระเบียบกฎเกณฑ์ทางการปกครอง
นโยบาย โครงการสาธารณะ และเครื่องมือหรือมาตรการที่รัฐใช้ในการแทรกแซง รวมทั้งการดำเนินการของ
3
ภาคธุรกิจ (DIHR and ICAR, 2014)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ประกันสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
ที่อาจได้รับผลกระทบจากการค้าการลงทุนไว้หลายประการ เช่น สิทธิในการได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร ตาม
มาตรา 41(1) สิทธิในการมีส่วนร่วมในกระบวนการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา
43(1)–(3) สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ตามมาตรา 41(3) เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีหมวดหน้าที่
ของรัฐขึ้น เพื่อกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในหมวดนี้ ซึ่งหากรัฐไม่ดำเนินการ
ประชาชนและชุมชนมีสิทธิที่จะติดตามหรือเร่งรัดให้เกิดการดำเนินการ รวมทั้งสามารถฟ้องร้องหน่วยงานของ
รัฐที่เกี่ยวข้องได้ ตามนัยมาตรา 51 อีกทั้งยังเน้นให้รัฐต้องดำเนินการเพื่อประกันการเข้าถึงบริการและ
สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รวมทั้งให้สิทธิของประชาชนเป็นจริงตามที่บัญญัติไว้ในหมวดสิทธิและเสรีภาพของ
ปวงชนชาวไทย ตลอดจนรัฐธรรมนูญได้บัญญัติหมวดแนวนโยบายแห่งรัฐขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการ
ตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมีบทบัญญัติในหลายมาตราที่กำหนดให้รัฐ
พึงต้องดำเนินการ อาทิ มาตรา 68 บัญญัติเรื่องการจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้
มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก
รวดเร็ว และไม่เสียค่าใช้จ่ายสูงเกินสมควร มาตรา 72 บัญญัติเรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน การวางผัง
เมือง ทรัพยากรน้ำ และพลังงาน หรือมาตรา 74 บัญญัติเรื่องการส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถในการ
ทำงานอย่างเหมาะสมและจัดให้มีระบบแรงงานสัมพันธ์
ภาพรวมด้านการลงทุนของประเทศ
ปัจจุบัน ภาครัฐให้ความสำคัญกับการลงทุนของประเทศ และมีแนวโน้มที่จะขยายการลงทุนในด้าน
ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง มีการออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่สำคัญหลายประการ เช่น การผลักดันการลดการ
ใช้มาตรการที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีในการกีดกันการค้าการลงทุนระหว่างกัน การเพิ่มขีดความสามารถในการ
แข่งขันและการกระจายความเจริญในการพัฒนาชุมชน จังหวัด และเมืองตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ การ
ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในต่างประเทศ การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนจาก
3 โปรดดู National Action Plans on Business and Human Rights - A Toolkit for the Development,
Implementation, and Review of State Commitments to Business and Human Rights Frameworks ข้อ 5.4
Recommendations for the NBA Process
2