Page 207 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 207

4. การดำเนินการ NAPs ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนเข้ามามีส่วนในการ

               ดำเนินงาน และควรที่จะมีองค์กรอิสระที่อิสระจริงเข้ามาเป็นผู้เฝ้าระวังและตรวจสอบ




               5. ภาควิชาการ (2 ท่าน)


               ผู้ให้สัมภาษณ์ ภาควิชาการ ท่านที่ 1


               1. ผู้ให้สัมภาษณ์มองว่า ปัญหาที่มีอยู่ในการประกอบธุรกิจหลักคือ ปัญหาแรงงาน เพราะทุกภาคธุรกิจจำเป็น

               จะต้องมีแรงงานในการขับเคลื่อน

               2. ขณะเดียวกัน การระบุปัญหาในภาคธุรกิจ จำเป็นที่จะต้องจำแนกขนาดของธุรกิจออกเป็น ขนาดใหญ่-

               ขนาดกลาง-ขนาดเล็ก ซึ่งในแต่ละขนาดจะมีประเด็นปัญหาการละเมิดที่แตกต่างกัน ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่

               มักจะไม่มีปัญหาการละเมิด เนื่องจากจำเป็นจะต้องรักษาชื่อเสียงของธุรกิจ ส่วนธุรกิจขนาดเล็กอาจจะกล่าวได้

               ว่า เป็นส่วนที่มีปัญหาสูงที่สุด เนื่องจากขาดทรัพยากรประเภทต่าง ๆ ในการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน

               ทั้งนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า การทำ HRDD เองด้านหนึ่งควรที่จะต้องตระหนักถึงข้อจำกัดของการนำไปใช้

               ดำเนินการด้วย เพราะธุรกิจบางกลุ่มหรือบางขนาดไม่มีศักยภาพในการดำเนินการ

               3. ปัญหาสิทธิแรงงานในควาเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีความถี่สูง ได้แก่ 1) การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 2) ค่าจ้าง

               3) สภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งจะมีความเกี่ยวโยงไปถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อนาคต ได้แก่ การเลิกจ้าง

               จากความเปลี่ยนแปลงในการประกอบธุรกิจ เช่น การใช้เทคโนโลยี หรือการเลิกกิจการ เป็นต้น ในส่วนของ

               ปัญหาที่มีขนาดใหญ่และสร้างผลกระทบสูง ได้แก่ ปัญหาการประมง และการค้ามนุษย์ ซึ่งมักปรากฏขึ้นจาก

               ความซับซ้อนของห่วงโซ่อุปทานที่ปิดซ่อนปัญหานี้ไว้

               4. สุดท้ายแล้ว ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า ปัญหาทางสิทธิมนุษยชนอาจมิใช่ปัญหาอันเกิดจากข้อกฎหมาย หากแต่

               เป็นปัญหาการบังคับใช้ หรือนำไปปรับใช้ที่ไร้ประสิทธิภาพ





               ผู้ให้สัมภาษณ์ ภาควิชาการ ท่านที่ 2


               1. ปัญหาสิทธิทางข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยี มักจะเป็นการละเมิดทางอ้อม เนื่องจากผู้ถูกละเมิดมักจะไม่มี

               ส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการละเมิด อาทิเช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP)
               สามารถทำสัญญาร่วมกับผู้ให้บริการ platform ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อแบบทางตรง (Exclusive

               Connection) ในรูปแบบของการเพิ่มความเร็ว หรือไม่เสียค่าบริการส่วนดังกล่าว ในแง่นี้ อาจก่อให้เกิดปัญหา

               การไม่ได้รับสิทธิในการบริโภคที่เท่าเทียมกัน เนื่องจากแต่ละผู้ให้บริการแต่ละแห่งสามารถปรับแต่งการทำงาน




                                                           147
   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212