Page 210 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 210
ภาคผนวก ค สรุปความคิดเห็นจากการประชุมระดมความคิดเห็นกับผู้มีส่วนได้เสีย ครั้งที่ 1
ประเด็นสิทธิแรงงาน
ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 1 ตัวแทนภาครัฐ
ตามกฎหมายการลงทุนไม่ให้มีการใช้แรงงานต่างด้าวซึ่งไม่มี MOU หากตรวจพบจะดำเนินการยึด
ใบอนุญาต โดยหลักการของแรงงานต่างด้าวตาม MOU มีเพื่อใช้ทดแทนกลุ่มแรงงานที่ขาดแคลน ซึ่งในส่วนนี้
แรงงานต่างด้าวจึงมักไปรวมกันอยู่ในส่วนชายแดนที่เป็นส่วนขาดแคลนแรงงาน ทั้งนี้ ผู้รับใบอนุญาตลงทุนมิ
เพียงต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานเท่านั้น แต่ยังต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ หรือข้อตกลงของหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 2 ตัวแทนภาครัฐ
แรงงานต่างด้าวจำแนกเป็นส่วนที่มีทักษะและไม่มีทักษะ แต่อย่างไรก็ตามการจ้างที่ถูกต้องจะต้องจ้าง
ผ่านแรงงานต่างด้าว MOU อยู่แล้ว ส่วนที่ทำถูกต้องจึงไม่เป็นปัญหา
ผู้ให้ความคิดเห็นท่านที่ 3 ตัวแทนภาควิชาการ
สิทธิแรงงานต่างด้าวที่พึงมียังไม่มีความเหมาะสมดังที่ควรจะเป็น ยกตัวอย่างเช่น การจัดฝึกอบรม
ทักษะที่รองรับเฉพาะแรงงานไทยเป็นหลัก นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่
ใกล้ชิดด้านหนึ่งก็อาจก่อให้เกิดการละเมิดโดยไม่เจตนาได้ เช่น นายจ้างเห็นใจให้ที่พักพิงและเกิดปัญหา over-
stayed ขึ้น
ทั้งนี้ การละเมิดแรงงานต่างด้าวที่มี MOU อาจจะไม่ใช่ปมปัญหาใหญ่ เพราะแรงงานต่างด้าว MOU
มีราคาที่ต้องใช้จ่ายในการดูแลสูงและมีระเบียบกำหนดที่เคร่งครัดกำกับอยู่
ในส่วนของแรงงานเด็กจะต้องระวังเรื่องบริบทแวดล้อมที่ทำให้เกิดการใช้แรงงานเด็ก เช่น เกิดน้ำท่วม
แล้วเด็กจะต้องมาช่วยพ่อแม่ทำงาน
ด้านการละเมิดสิทธิจากสุขภาวะ มีประเด็นที่น่าสนใจคือ การละเมิดมักเป็นการละเมิดทางอ้อม เช่น
บอกเล่าปากต่อปากว่าบุคคลมีเชื้อ HIV
150